ไข้ หมายถึง การที่อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ หรือสูงกว่า 37.7 องศาเซนติเกรด (°C) (อุณหภูมิปกติของร่างกาย = 37 °C )
สาเหตุที่ทำให้มีไข้
- มีการอักเสบหรือมีการติดเชื้อ เช่น เป็นไข้หวัด
- โรคต่างๆ เช่น โรคเลือด โรคระบบประสาท
- ร่างกายขาดน้ำ เช่น อาเจียน ท้องเสีย หอบเป็นเวลานาน
- ได้รับวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
อาหาร
บางคนมีอาการเฉพาะตัวร้อน แต่บางคนอาจมีหลายอาการเกิดขึ้น ได้แก่ ตัวร้อน หน้าแดง ผิวหนังแห้งและแดง อ่อนเพลีย ตาปรอย ซึม ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น มีเหงื่อออกมาก หายใจเร็ว ตื้น ชีพจรเร็ว หงุดหงิด กระหายน้ำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ถ้ามีไข้สูงมากๆ จะมีปัสสาวะน้อย ปัสสาวะขุ่น และมีสีเข้ม
ภาวะแทรกซ้อน
ในเด็ก ถ้ามีไข้สูงมากๆ อาจมีอาการชักได้ ถ้าชักนานอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสมอง ทำให้สมองถูกทำลาย และอาจมีผลต่อสติปัญญาของเด็ก
การดูแลเมื่อมีไข้
- เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะที่บริเวณข้อพับ เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยน้ำ เพื่อลดไข้
- ให้ดื่มน้ำมากๆหรือจิบน้ำบ่อยๆ หรือให้อาหารที่มีปริมาณน้ำอยู่มาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก
- ให้นอนพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- ใส่เสื้อผ้าปกติ ไม่ควรใส่เสื้อหนาๆซ้อนกันหลายๆตัว หรือห่มผ้าหนาๆ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้
ยาลดไข้พาราเซตามอล
- ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ดทุก 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวดหัว มีไข้ ไม่ควรทานเกิน 4 กรัมต่อวัน (8 เม็ด) ในเด็กจะลดขนาดยาลงตามอายุหรือน้ำหนัก
- สำหรับผู้ใหญ่ ไม่ควรทานยานี้ติดต่อกันเกิน 10 วัน และในเด็กไม่ควรทานยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน โดยไม่ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
- ผลข้างเคียงของยาเกิดน้อย แต่ให้ระวังในคนที่มีอาการแพ้ โดยอาจมีผื่นขึ้นแดงที่ผิวหนัง คัน ถ้ามีอาการดังกล่าวนี้ให้หยุดยา แล้วควรปรึกษาแพทย์
- ไม่ควรดื่มเหล้า ระหว่างที่ใช้ยานี้ และไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ
- สามารถใช้ยานี้กับสตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตรได้
ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อ
- ไข้สูงมาก เกิน 39 °C
- ปวดศีรษะมาก หรือมีไข้สูงเกิน 3 วัน
- มีไข้ร่วมกับอาการซึม ชัก หอบ
ที่มา
สถานปฏิบัติการเภสัชชุมชน
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ขอบคุนคร๊าบ