อ่าน: 1068
Small_font Large_font

คุณโชคดีแค่ไหน....ที่ได้ปลูกถ่ายไต ตอนที่ 2

รู้จักกินช่วยป้องกันไม่ให้ไตเสื่อม

คงต้องกลับมาใช้ประโยคเช่นเดียวกับเมื่อท่านเป็นเรื้อรัง เพราะเมื่อปลูกถ่ายเปลี่ยนไตแล้ว ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต การรับประทานอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้การทำงานของไตที่ปลูกถ่ายมีประสิทธิภาพการทำงานเป็นปกติได้นานเท่าที่จะนานได้

ฉะนั้น การรับประทานอาหารจะต้องเลือกรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันมิให้ไตที่ปลูกถ่ายแล้วทำงานหนักมากจนเกินไป หากไตที่ปลูกถ่ายทำงานหนักมากจนกระทั่งเสื่อม สามารถกลับมาเป็นโรคไตเรื้อรังได้อีกเช่นเดียวกัน

การรับประทานอาหารควรเลือกที่เหมาะสม มีสารอาหารและพลังงาน เพียงความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ไตมีความสามารถในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดูแลเนื้อไตไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้นจนเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้ายได้

ผู้ป่วยไตวายเมื่อได้รับ ปลูกถ่ายไตแล้ว มักเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าสามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่างตามสบายไม่ต้องควบคุมอาหารอีกต่อไป เพราะคิดว่ามีไตใหม่มาช่วยในการขจัดของเสียในร่างกาย

หลักสำคัญการรับประทานอาหาร

1.ผู้ป่วยต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงมากที่สุดโดยมีวิธีการคำนวณง่ายดังนี้

ผู้หญิง ส่วนสูง – 110 โดยให้มีเส้นรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร

ผู้ชาย ส่วนสูง – 100 โดยให้มีเส้นรอบเอวไม่เกิน 90 เซนติเมตร

2.กลุ่มอาหารประเภทโปรตีน

อาหารหมวดเนื้อสัตว์ควรได้โปรตีนประมาณ 0.8 – 1.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมหรือประมาณวันละ 50-60 กรัมโปรตีน เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประมาณ 1 1/5 ขีด/วัน (ดูจากตารางประกอบ)

การเลือกอาหารประเภทโปรตีนที่รับประทานควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงจากเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อปลา และไข่ขาว เพราะมีไขมันน้อย ย่อยและดูดซึมได้ง่าย สำหรับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนังติดมัน สามารถรับประทานได้ทุกชนิด หมุนเวียนแต่ให้อยู่ปริมาณที่สมดุล

ยกตัวอย่าง
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ วันละ 40 กรัมต่อวัน ผู้ป่วยสามารถคำนวณปริมาณการรับประทานเนื้อสัตว์จากตาราง ดังนี้ ไข่ไก่ 1 ฟอง นม 1 แก้ว เนื้อปลา 1 ชิ้น ไก่สับ 10-15 ก้อน คิดเป็น 7+8+11.5+11.5 = 38 กรัม/วัน

3.กลุ่มอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

ข้าวและแป้งผู้ป่วยควรได้รับประมาณ 50 % ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้ว เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสน้อยลง

เนื่องจากผู้ป่วยมักมีปัญหาฟอสฟอรัสในเลือดสูง จึงต้องระมัดระวังฟอสฟอรัสจากอาหาร อาทิ เมล็ดพืชต่างๆเช่น ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว ช็อคโกแลต โกโก้ หอยแมลงภู่แห้ง ปลาไส้ตัน กุ้งแห้ง โคล่า ไข่แดงและผลิตภัณฑ์จากนม

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวเพราะการสะสมฟอสฟอรัสในร่างกายมากจะมีผลต่อระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และวิตามินดี ทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ และอาการกล้ามเนื้ออ่อนเพลียได้ ผู้ป่วยควรศึกษาทำความเข้าใจในผลการตรวจเลือดของตนเอง เพื่อปรับการรับประทานอาหาร

4.อาหารกลุ่มไขมันและน้ำมัน

อาหารกลุ่มไขมันโดยทั่วไปการรับประทานอาหารหมวดไขมันในปริมาณไม่เกิน 30 % ของปริมาณพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ 3 ประเภทดังนี้

-น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร การเลือกใช้น้ำมันปรุงอาหารควรเลือกใช้น้ำมันชนิดดี เช่นน้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้นควรใช้น้ำมันปรุงอาหารในปริมาณไม่ควรเกิน 3 – 4 ช้อนโต๊ะ

-ไขมันชนิดทรานส์ เป็นไขมันที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคเลือดหัวใจและสมอง มีในครีมเทียม เนยเทียม อาหารทอดกรอบ ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น

-ไขมันจากสัตว์ เป็นไขมันชนิดอิ่มตัวพลในหนังสัตว์ ไขมันในสัตว์ อาหารทะเลประเภท กุ้ง หอย เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ซึ่งแหล่งอาหารที่มีโคเลสเตอรอล

5.เครื่องปรุงรส

การได้โซเดียมหรือกินเค็มมากเกินไปจะทำให้มีน้ำสะสมในร่างกายมากตามไปด้วย เมื่อมีน้ำมากจะเกิดความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หรือหัวใจวายได้ง่าย ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไต ควรรับประทานอาหารและเครื่องปรุงลดในอาหารไม่ให้เกิน 2,400 มก / วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่คนปกติควรได้รับ

อ่านได้ที่ปริมาณโซเดียมในอาหาร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ความเสี่ยงหลังจากการผ่าตัดปลูกถ่ายไต โดยทั่วไปควรระวังเรื่องของการติดเชื้อในร่างกายเนื่องจากผู้ป่วยกินยากด ภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผลทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายต่ำลง และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นอาหารที่ควรระวังและหลีกเลี่ยงมีดังนี้

-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสจัด อาหารหมักดอง

-อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ แปรรูปที่ไม่ได้มาตรฐาน มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งรสชาติ สี และไขมันสูง อาทิ แหนม ไส้กรอก แฮม เบคอน เอ็นไก่ หนังหมู เป็นต้น

-อาหารสุกๆดิบๆ ที่ไม่ผ่านความร้อนหรืออาหารที่ซื้อจากร้าน ผู้ป่วยต้องมั่นใจในความสะอาดของขั้นตอนการผลิตเนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาติดเชื้อได้ง่าย

-น้ำและน้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

-น้ำร้อนจัดและเย็นจัด เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร

เมื่อคุณมีโอกาสที่ดีในการปลูกถ่ายไตต้องพึงระลึกเสมอว่าคุณเป็นผู้ที่โชคดีที่สุดเพราะยังมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาสนั้นฉะนั้นขอให้คุณปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ไตอยู่กับคุณนานเท่านาน

ความอร่อยของอาหารที่เราต้องการมิได้ทำให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ร่างกายในบางครั้งยังทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่เราไม่สามารถเรียกคืนกลับมาดังเดิมได้กินเพื่ออยู่และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจะดีกว่ากินแค่อร่อยปากเพียงอย่างเดียวคุณละคิดอย่างไรค่ะ

อ้างอิง : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

เรียบเรียงโดย : พรพิศ เรืองขจร

นักวิชาการโภชนาการชำนาญการ งานโภชนาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
: กาย
: บทความสุขภาพ
: สุขภาพ
:

พรพิศ 13 ก.ย. 2553 12 ต.ค. 2553
ความคิดเห็น (2)
« ก่อนหน้า หน้า 1 จาก 1 ถัดไป »

ข้อมูลดีมากเลยคับ เป็นประโยชน์มากๆๆ อ่านแล้วได้ความรู้
รับแต่งหน้า แต่งหน้าเจ้าสาว แต่งหน้ารับปริญญา ช่างแต่งหน้า

Tmakeupgroup (58.8.124.57) 15 พฤศจิกายน 2554 - 22:38 (#3090)
« ก่อนหน้า หน้า 1 จาก 1 ถัดไป »
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย