สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเอสแอลอีเป็นโรคไตคือ
ผู้ป่วยโรคเอส แอล อี มีการสร้างภูมิคุ้มกัน ผิดปกติที่ออกฤทธิ์ต่อต้านโครงสร้างบางอย่างของเซลล์ร่างกายเอง เช่น สร้างภูมิคุ้มกันผิดปกติต่อต้าน ทำให้เซลล์ของระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานบกพร่อง เมื่อผู้ป่วย มีอาการกำเริบ ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่ถูกกระทบ ผู้ป่วยมักมีการอักเสบในเนื้อไตที่พบในผู้ป่วยมีหลายชนิดและมีความรุนแรงต่างๆ กัน ในระยะแรก อาการอักเสบอาจเป็นชั่วคราว แต่ถ้าโรคมีความรุนแรงอยู่นานจะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
ผู้ป่วยโรคเอส แอล อี อาจสร้างภูมิคุ้มกันผิดปกติต่อต้านสารฟอสโฟไลปิดซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกชนิดหนึ่งของเซลล์อาจทำให้หลอดเลือดไตอุดตัน
ผลแทรกซ้อนจากโรคหรือจากการรักษา อาจมีผลต่อไตทำให้ไตทำงานบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยมักมีร่างกายไม่แข็งแรง อาจมีการติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิตจนทำให้เกิดโรคไตวายเฉียบพลันได้
ผู้ป่วยเอสแอลอีใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไต
ผู้ป่วยเอส แอล อี ทุกคนมีโอกาสเป็นโรคไต มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่บุคคล ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอาจมีโรคไตร่วมด้วยตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยได้ว่าเป็น เอส แอล อี และเมื่อติดตามผู้ป่วยต่อไปจะพบอุบัติการของโรคไตเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 25
ข้อควรระวังการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตจากเอสแอลอี
ในระยะแรกที่มีอาการไตอักเสบ อัลบูมินและโปรตีนชนิดอื่นรั่วออกไปทางปัสสาวะ ผู้ป่วยมักมีอาการบวม และมีความดันโลหิตสูง ในระยะนี้ ควรงดอาหารเค็ม ควรจำกัดการดื่มน้ำ โดยตรวจสอบจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักแต่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มการรับประทานอาหารพวกเนื้อสัตว์ ซึ่งมีสารโปรตีนสูงมากให้เพิ่มขึ้น เพราะหากคำนวณดูแล้ว ปริมาณโปรตีนที่รั่วออกไปทางปัสสาวะไม่ได้มากพอที่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดต่ำ การรับประทานอาหารเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ยังอาจเป็นอันตรายต่อไตในระยะยาวในระยะที่มีความรุนแรงของโรค และการทำงานของไตบกพร่องมากขึ้น การทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 30-40 แล้ว ผู้ป่วยควรงดอาหารเค็มเช่นเดิม และควรจำกัดการรับประทานอาหารโปรตีนให้อยู่ในช่วง 0.6-0.8 กรัมโปรตีนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยสามารถอ่านได้จาก
บทความ**กินอย่างไรเมื่อเป็นไตวายเรื้อรังระยะก่อนการฟอกไต**
อาหารประเภทใดเหมาะกับผู้ป่วยโรคไตมากที่สุด
เนื้อปลา ไข่ขาว นมและเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆที่ไม่ติดมันและหนัง
เหตุใดผู้ป่วยควรรับประทานไข่ขาวทุกวัน
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง (เพื่อชะลอความเสื่อมของไต) ไม่จำเป็นและไม่ควรรับประทานอาหารโปรตีนมากเกิน เพราะหากรับประทานโปรตีนมากเกินไปจะทำให้โปรตีนที่รั่วออกไปทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และจะกระตุ้นให้มีการเสื่อมของไตเร็วขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วยเมื่อผู้ป่วยเอส แอล อี มีภาวะไตวายร่วมด้วย
แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยไตวายบริโภคอาหารโปรตีนลดลง เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไตเนื้อสัตว์ประเภท เนื้อปลา และไข่ขาวถือว่าโปรตีนคุณภาพสูง คือมีกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ครบทุกตัว
ไข่ขาวประกอบด้วยสารโปรตีนชนิดอัลบูมิน (albumin) ล้วนๆ จึงมีความบริสุทธ ิ์ในแง่โครงสร้างของสารโปรตีนดีกว่าปลา หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ส่วนนมและไข่แดง แม้มีโปรตีนสูงเช่นกันแต่ก็มีไขมันโคเลสเตอรอล(cholesterol) และสารฟอสเฟตสูง
ผู้ป่วยโรคไตวายมักมีภาวะไขมันในเลือดสูงและฟอสเฟตในเลือดสูงอยู่แล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานนมและไข่แดง ซี่งทำให้เกิดผลเสียต่อระบบต่างๆของร่างกาย) ผู้ป่วยบางรายที่มีการทำงานของไตบกพร่อง หรือมีพยาธิสภาพของไตผิดปกติเป็นเวลานาน (เช่นเกิน 6 เดือน)แพทย์มักแนะนำให้ควบคุมปริมาณอาหารโปรตีนให้เหมาะสมเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
ผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำให้รับประทานไข่ขาววันละหลายฟอง แต่จะต้องคำนวณตามปริมาณโปรตีนทึ่ควรได้รับ
การดูแลส่วนที่สำคัญด้านการรับประทานอาหารที่ไม่ควรมองข้าม
การเลือกรับประทานอาหารทุกชนิดควรระวังเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ อาหารทุกชนิดต้องผ่านความร้อน เนื่องจากผู้ป่วย จะมีภูมิต้านทานต่ำอเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
ผักสดๆหากไม่มั่นใจในความสะอาดใน ระยะนี้ต้องรับประทานผักที่สุกแทนผักสด
ผลไม้ ควรเลือกที่ปอกเองและรับประทานโดยทันที ไม่ควรซื้อผลไม้ที่ปอกสำเร็จรูปมารับประทาน
หลีกเลี่ยงของหมักดองทุกชนิด
น้ำดื่มและน้ำแข็งควรเลือกที่มีคุณภาพดี
อาหารสำเร็จรูป อาทิ กับข้าวที่ปรุงสำเร็จแล้ว ขนมน้ำต่างๆ ต้องนำมาอุ่นให้เดือดประมาณ 10-15 นาที และอาหารทุกชนิดไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 ชั่วโมง
ในระยะไตอักเสบเฉียบพลัน หลักในการเลือกรับประทานอาหารสามารถใช้หลักเดียวกันกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะก่อนการฟอกไตได้ค่ะ
อ้างอิงจาก
ชนิดา ปโชติการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียบโดย
พรพิศ เรืองขจร
ผมเป็นคนที่ติดตามเรื่องสุขภาพมาก แม้จะเป็นครูผมคิดว่า เบิกได้ไม่ใช่คำตอบ เพราะทั้งครอบครัวเป็นโรคมากจริง ๆ สำหรับ ผู้ป่วยเอส แอล อี ผมติดตามอยู่หลายคน บอกได้ว่าหลังจากเขาใช้ยามาหลายปี ก็มีทั้งอาการตับ ไต ตับค่าขึ้นไป ถึง 700 ไต ไปถึง 5 (แม่ผู้ป่วยเล่าให้ฟัง)รักษาอยู่ มอ.หาดใหญ่ มีโอกาสใช้หลินจือผ่านไป 1 เดือนครับ ค่าตับลดมาที่ 300 ค่าไตเหลือ 1 ผ่านไปอีก 1 เดือน ทั้งตับและไต เกือบจะปกติ สำหรับผู้ป่วย ผมคงบอกบุญไปเท่านี้ หาหลินจือสกัดบริสุทธิ์ แบบแยกสารและมีใบรับประกันผู้บริโภคให้เจอครับ การสงสัยเป็นเวลานานไม่สู้ใช้เวลาสั้น ๆ ไปพิสูจน์ครับ ผมพิสูจน์แล้วกับครอบครัวและคนใกล้ชิด