เหตุผลที่คูณพยายามคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก็เพื่อจะป้องกันโรคแทรกซ้อนอันเป็นผลจากเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ ไตวาย สายตาเสื่อม สมองเสื่อมใช่หรือไม่
การสูบบุหรี่
จะทำให้การควบคุมเบาหวานของคุณทำได้ยากขึ้น เพราะการสูบบุหรี่ลดประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลทำได้ยากขึ้น
โรคแทรกซ้อน
จะเกิดเร็วขึ้นถ้าคุณสูบบุหรี่ต่อไป
- เพราะคนที่เป็นเบาหวานที่แม้ไม่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว
- การสูบบุหรี่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ และเส้นเลือดที่ขาตีบขึ้นอีกหลายเท่า
- ความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้นตามจำนวนและระยะเวลาที่สูบบุหรี่ และลดลงตามระยะเวลาที่ได้เลิกบุหรี่มาแล้ว โดยยิ่งเลิกสูบบุหรี่เร็ว ความเสี่ยงจะยิ่งลดลง
- คุณจะถูกตรวจพบไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะเร็วกว่าและไข่ขาวจะรั่วออกมามากกว่าคนเป็นเบาหวานที่ไม่สูบบุหรี่ การตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ไตคุณเริ่มเสื่อม
- การสูบบุหรี่ต่อไปจะทำให้ไตคุณเสื่อมเร็วขึ้น ทำให้เกิดไตวายเร็วขึ้นการเลิกสูบบุหรี่จะลดอัตราการเสื่อมของไต
- ปลายประสาทของคุณจะเสื่อมเร็วขึ้น อาการชาที่ปลายเท้าของคุณจะยิ่งรุนแรงขึ้น
- การสูบบุหรี่ทำให้เลือดไปเลี้ยงตามแขนขาของคุณ ซึ่งลดลงอยู่แล้วในคนเป็นเบาหวานลดลงยิ่งขึ้น คุณจะเกิดแผลเบาหวานง่ายขึ้น แผลยิ่งจะหายยาก และเพิ่มโอกาสที่คุณจะต้องถูกตัดขา
- เบาหวานทำให้คุณมีภูมิ ต้านทานลดลงเป็นทุนอยู่แล้ว การสูบบุหรี่ยิ่งทำให้ภูมิต้านทานของคุณลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อง่าย ทั้งระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังและปลายเท้า
- คนเป็นเบาหวานที่สูบบุหรี่หากเกิดแผลหรือแผลติดเชื้อจะหายยากมาก
ผลดีเมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่
- คุณจะคุมระดับน้ำตาลได้ง่ายขึ้น
- ลดโอกาสและชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ จากเบาหวานที่จะเกิดกับคุณ
- ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หัวใจวาย หัวใจโต โรคเส้นเลือดในสมอง และไตเสื่อมจะลดลงอย่างมาก
- ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งที่อื่นๆ ถุงลมปอดพอง
- คุณจะรู้สึกดีขึ้น เหนื่อยน้อยลง ไอน้อยลง
- คุณจะดูดีขึ้น หน้าตาสดใสขึ้น ตัวไม่เหม็นบุหรี่
- ทานอาหารได้อร่อยขึ้น
- ประหยัดเงิน ทั้งค่าบุหรี่และค่ารักษาโรคเบาหวาน
- คุณจะมีอายุยืนขึ้น
เคล็ดลับหลังจากทิ้งบุหรี่
วิธีปฏิบัติ
- พยายามอยู่ในที่ห้ามสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ที่ออกรสเปรี้ยว เพื่อขับสารนิโคตินออกจากร่างกาย
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ชอบดื่มคู่กับการสูบบุหรี่ เช่น ชา กาแฟ เหล้า เบียร์
- พูดคุยกับเพื่อนหรือผู้ที่สามารถจะให้กำลังใจเราได้แทนการสูบบุหรี่
- นำปากกา ดินสอ หนังสือ ฯลฯ มาถือไว้แทนการคีบบุหรี่
- ทานผลไม้หลังอาหาร เพื่อลดความอยากบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เคยสูบเป็นประจำ
- ปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น โดยบอกให้ทราบถึงความตั้งใจจริงที่จะเลิกสูบบุหรี่
- สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด
- พยายามออกกำลังกาย เช่น วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ กระโดดเชือก หรือแม้แต่การเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ตามมาหากคุณเคยชินกับการสูบบุหรี่หลังอาหาร ให้แปรงหันหลังอาหารแทนการสูบบุหรี่
- ให้กำลังใจตนเอง อย่ายามแพ้ต่อความยากลำบากเพราะนี่คือ การวัดใจตัวเราเอง ว่าเรามุ่งมั่นแค่ไหนที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้
จงอย่ารีรอทีจะลงมือเลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่บัดนี้
ก. ข. ค. ง. เพื่อการเลิกสูบบุหรี่
ก. กำจัดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ไปให้หมด
ข. เข้มแข็งเข้าไว้ หากมีอาการหงุดหงิดหรือเครียด บอกตัวเองว่า สู้ สู้
ค. คุมน้ำหนักด้วยการเลือกกินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ให้มากกว่าเดิม
ง. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกิจกรรมที่มักทำร่วมกับการสูบบุหรี่
จ. จดไว้เสมอว่า การเลิกบุหรี่จะทำให้เบาหวานของคุณดีขึ้น และลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อน
เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่คุณควรจะ
- อย่าสูบบุหรี่ทันทีที่อยากสูบ คุณควรจะประวิงเวลาของการสูบบุหรี่ไปเรื่อยๆ
- ดื่มน้ำ หรือล้างหน้าทันที เมื่อรู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย
- สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ และช้าๆ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง คุณจะผ่อนคลายขึ้น
- หันไปทำกิจกรรมอื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปจากความอยากสูบบุหรี่
ที่มา
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่