แพะกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ภายหลังมีการสนับสนุนจากรัฐบาลให้มีการเลี้ยงแพะในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อให้เป็นแนวทางในการบริโภคเนื้อแพะ นมแพะ โดยใช้นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารฮาลานเพื่อการส่งออก นอกจากนี้โครงการหลวงยังมีการศึกษาถึงวิธีการเลี้ยงแพะนม เพื่อให้คนไทยมีนมแพะบริโภคอย่างแพร่หลาย ทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงแพะอย่างกว้างขวางขึ้น ซึ่งน้ำนมแพะนอกจากจะนำมาบริโภคแล้ว ยังนิยมนำมาผสมในเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น สบู่ ครีม โลชั่น ต่างๆ เนื่องจากมีการใช้นมแพะบำรุงผิวมาแต่โบราณ ผลิตเนื่องจากมีการใช้นมแพะบำรุงผิวมาแต่โบราณ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากนมแพะมีเนื้อสัมผัสที่ละเอียดและนุ่ม นมพะจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
นมแพะมีปริมาณสารอาหารที่แตกต่างจากนมวัว กล่าวคือ
- เปอร์เซ็นต์ไขมันในนมแพะสูงกว่านมวัว และโครงสร้างโมเลกุลของกรดไขมันในนมแพะ มีขนาดเล็กกว่านมวัว ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันสายสั้นๆ เช่น กรดคาปริก (capric) กรดคาไพรลิก (caprylic acid) มีสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งปัจจุบันกรดคาปริก และกรดคาไพรลิก ใช้เติมในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Candida albicans และยีสต์พันธ์ต่างๆ กรดไขมันเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “ไขมันที่ทำหน้าที่คล้ายคาร์โบไฮเดรต” เพราะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและพลังงานไขมันเหล่านี้กระจายตัวได้ดี สามารถถูกดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ และถูกย่อยได้ง่าย
- นมแพะมีสัมบัติเป็น buffering capacity มากกว่ายาลดกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย และยังดีต่อผิวคือช่วยประสภาพผิวให้สมดุล
- มีปริมาณโปรตีน alpha-S1 casein น้อยกว่าในนมวัว เมื่อโปรตีนทำปฏิกิริยาในกระเพาะอาหารจะเกิดเป็นก้อน curd ที่มีลักษณะนิ่มกว่าของนมวัว จึงทำให้นมแพะย่อยง่าย
- มีปริมาณแคลเซียม (calcium) โพแทสเซียม (potassium) ทองแดง (copper) และซีลีเนียม (selenium) มากกว่าในนมวัว ซึ่งซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้สมดุล เช่น โรคภูมิต้านตนเอง และซีลีเนียมยังทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ โดยนมแพะมีซีลีเนียมมากถึง 2.5 เท่าของนมผง และมากกว่านมวัวที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แล้วเกือบร้อยละ 35
- นมแพะประกอบด้วยวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอช่วยสร้างเซลล์ผิวหนัง เสริมสร้างระบบภูมิภูมิคุ้มกันทำให้ผิวและผมแข็งแรง วิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชาและช่วยระบบเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย วิตามินบี 2 เสริมขบวนการให้พลังงานแก่ร่างกายและจำเป็นต่อผิวหนัง วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์
- นมแพะมีปริมาณวิตามินบี 12 และกรดโฟลิก น้อยกว่าในนมวัว ดังนั้นการจะซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่มาจากนมแพะจึงต้องดูว่ามีการเติมสารอาหารเหล่านี้ลงไปด้วยหรือไม่ เพราะการขาดสารอาหารที่อาจส่งผลต่อร่างกาย เช่นกรดโฟลิก จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้
แม้การบริโภคนมแพะจะมีประโยชน์ แต่ถ้าเลือกซื้อนมแพะจากฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจก่อให้เกิดโรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย หากได้รับเชื้อแล้วจะมีไข้เป็นระยๆ เป็นเวลานาน เป็นๆ หายๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดข้อ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง หรือท้องผูก อาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบของอวัยวะสำคัญอื่นๆ ตามมา หากจะเลือกซื้อนมแพะ ควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ มีขบวนการฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐาน (pasteurization) เพื่อความปลอดภัย
ที่มา
กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
สำนักเทคโนโลยีชุมชน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นมแพะมีประโยชน์สุขภาพเยอะแยะมากมาย แต่ถ้าจะให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงๆต้องเลือกซื้อนมแพที่ได้มาตรฐานไม่อย่างนั้นอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าจะเป็นประโยชน์ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย เราจะต้องแน่ใจถึงคุณภาพการผลิต ก่อนตัดสินใจเลือกบริโภคนมแพะ