Acute tonsillitis เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิลเฉียบพลัน ส่วนคออักเสบ (pharyngitis) หมายถึง ภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ บางครั้งอาจเกิดเพียงทอนซิลอักเสบหรือคออักเสบอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเมื่อพูดว่าต่อมทอนซิลอักเสบ จะหมายความถึงการอักเสบของต่อมทอนซิลซึ่งโดยมากเป็นทั้งสองข้าง และมักมีอาการอักเสบของหลอดคอหอยร่วมด้วย ต่อมทอนซิลอักเสบแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ โดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร หรือน้ำลาย จะเจ็บมาก พยาธิสภาพของโรคนี้ พบการบวมแดงของต่อมทอนซิลและเยื่อบุคอหอย อาจพบหนองได้ การอักเสบรุนแรงกระจายทั่วไป ลิ้นไก่แดงมาก และพบหนองสีเทาเหลืองที่บริเวณทอนซิลได้บ่อย
โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ การตรวจร่างกายโดยละเอียด การแยกให้ได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสหรือจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่การตรวจร่างกายอย่างเดียวมักไม่สามารถบอกสาเหตุได้ การตรวจพบหนองที่ต่อมทอนซิล หรือคอหอย มักเกิดจากการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส group A, C, G เชื้อแบคทีเรียชนิดไม่พึ่งออกซิเจน adenovirus และ herpes simplex virus ถ้าพบว่ามีผื่นแดงที่ผิวหนัง ควรนึกถึงการติดเชื้อ S. pyogenes และ Epstein Barr virus ส่วนในรายที่มีอาการตาอักเสบร่วมด้วย มัก
เกิดจากเชื้อ adenovirus และ enterovirus บางชนิด
การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส จากตัวอย่างที่ป้ายจากคอหอยและทอนซิล เป็นวิธีที่ให้ผลอย่างรวดเร็ว มีความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 90 แต่มีความไวอยู่ระหว่าง 60-95 การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส ถ้าให้ผลบวกสามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส แต่ถ้าให้ผลลบ ควรเพาะเชื้อลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อเพื่อยืนยัน
ผลแทรกซ้อนของต่อมทอนซิลอักเสบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
ในส่วนของการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันนั้น ปกติแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น
ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือลดไข้ และให้การรักษาเฉพาะ เช่น การให้ยาต้านจุลชีพเพื่อกำจัดเชื้อต้นเหตุ ถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม หากแพทย์พิจารณาว่าสาเหตุมาจากไวรัส ก็จะให้ยาตามอาการเท่านั้น เพราะยาต้านจุลชีพไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ในรายที่มีอาการมากๆ เช่น เจ็บคอมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ และมีไข้สูงแพทย์จะแนะนำให้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้อาการทุเลาดีขึ้นเร็วกว่าการให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบของต่อมทอนซิลอาจจะกระจายกว้างออกไปจนเกิดเป็นหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล แล้วอาจลุกลามผ่านช่องคอเข้าสู่ช่องปอดและหัวใจได้ นอกจากนั้น เชื้อแบคทีเรียอาจเข้ากระแสเลือดแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งนับเป็นภาวะที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันบ่อยๆ ต่อมทอนซิลจะโตขึ้น แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นแบบเรื้อรัง และอาจมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันได้ การที่ต่อมทอนซิลโตจะทำให้เกิดร่องหรือซอกซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปตกค้างอยู่ได้ อาจทำให้เกิดการอักเสบยืดเยื้อออกไป
การผ่าตัด
ยาที่ใช้บ่อย Amoxicillin and Clavulanate (Amoxycillin and Clavulanate), Amoxicillin หรือ Amoxycillin, Cefuroxime, Erythromycin , Paracetamol, Roxithromycin,
- ครรชิตเทพ ตั่นเผ่าพงษ์, อาการเจ็บคอ:การอักเสบติดเชื้อ:สุภาวดี ประคุณหังสิต, สมยศ คุณจักร, บรรณาธิการ, ตำราโสต ศอ นาสิกวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ, โฮลิสติก พับลิชชิ่ง;2544, P 337-9 – ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ : ต่อมทอนซิลอักเสบ [online].,Available from ; URL : http://www.vichaiyut.co.th/jul/26_03-2546/26_03-2546_P53-55.pdf – วรวุฒิ เจริญศิริ, ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ : ต่อมทอนซิลอักเสบ [online].,Available from ; URL : http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-20-57/818-2009-01-21-08-32-55 – นายแพทย์ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์, โรงพยาบาลบำราศนราดูร: ทอนซิลอักเสบ [online].,Available from ; URL : http://www.elib-online.com/doctors/tonsils.html