อ่าน: 790
Small_font Large_font

Antibacterials (ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย)

คำอธิบายพอสังเขป

ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (antibacterials) หมายถึงยาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตได้จากทุกแหล่ง ไม่ว่าจากจุลินทรีย์ หรือจากการสังเคราะห์บางส่วนเพิ่มเติมจากที่ได้จากจุลินทรีย์ (semisynthetics) หรือได้จากการสังเคราะห์ทั้งหมด (synthetics) คำนี้มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ยาปฏิชีวนะ (antibiotics)” เพราะหากยึดตามความหมายดั้งเดิมจริง ๆ แล้ว ยาปฏิชีวนะหมายถึงยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตมาจากจุลินทรีย์ (microorganism) ต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย, เชื้อรา, แอคทิโนมัยซีทีส (actinomycetes) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ตัวมันเอง

อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีบางตำราใช้คำว่า “ยาปฏิชีวนะ” ครอบคลุมไปถึงยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตได้จากการสังเคราะห์ เช่น ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ และควิโนโลน จนทำให้มักมีการใช้คำว่า “ยาปฏิชีวนะ” ที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า “ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย”

ปัจจุบันมีการคิดค้นพัฒนายาต้านเชื้อแบคทีเรียหลายร้อยชนิด แต่ละชนิดมีความสามารถและกลไกในการต้านเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ กัน และสามารถจัดกลุ่มได้หลายกลุ่มดังนี้

1. กลุ่มเบต้าแลคแทม (beta-lactam) ซึ่งประกอบด้วยกล่มย่อยดังนี้

  • เพนิซิลลิน (penicillins) เช่น เพนิซิลลินวี (penicillin V), อะมอกซีซิลลิน (amoxycillin)
  • เซฟาโลสพอริน (cephalosporins) เช่น cephalexin (เซฟาเลกซิน), cefaclor (เซฟาคลอร์), cefixime (เซฟิซีม)
  • คาร์บาพิเนม (carbapenems) เช่น อิมิพิเนม (imipinem), เมอโรพิเนม (meropenem)

2. กลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycosides) เช่น เจนทาไมซิน (gentamicin), นีโอไมซิน (neomycin)

3. กลุ่มเททราไซคลีน (tetracyclines) เช่น เททราไซคลีน (tetracycline), ดอกซีไซคลิน (doxycycline)

4. กลุ่มแมคโครไลด์ (macrolides) เช่น อีริโทรไมซิน (erythromycin), คลาริโทรไมซิน (clarithromycin), แอซิโทรไมซิน (azithromycin)

5. กลุ่มซัลโฟนาไมด์ (sulfonamides) เช่น ซัลฟาไดอาซีน (sulfadiazine), ซัลฟาเมทอกซาโซล (sulfamethoxazole)

6. กลุ่มควิโนโลน (quinolones) เช่น นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin), ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin)

7. กลุ่มอื่น ๆ เช่น คลินดาไมซิน (clindamycin), แวนโคไมซิน (vancomycin)

กลุ่มยา

รายการนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มยาต่อไปนี้

ยา

ยาต่อไปนี้อยู่ในกลุ่มยานี้

แหล่งอ้างอิง

1. Chambers HF. Section VII. Chemotherapy of Microbial Diseases. Chapter 43. Antimicrobial agents: General considerations. In Goodman & Gilman’s: The Pharmacological basis of therapeutics. (Hardman JG, Limbird LE, Gilman AG, eds). 10th ed.,2001. The McGraw-Hill Companies, Inc. pp. 1143-1271.


นรวร เจนณรงค์
โพยม วงศ์ภูวรักษ์
03 สิงหาคม 2552 12 พฤษภาคม 2553
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย