อ่าน: 1240
Small_font Large_font

การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก

ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยกับญาติผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อาหารให้กับผู้ป่วยใช้ฝึกการกลืนมีอะไรบ้าง

คำตอบที่ได้คือข้าวต้มบดผสมเนื้อสัตว์หรือผักบ้าง หรือน้ำส้มคั้น หรือน้ำข้าวให้ 3-4 ช้อนต่อมื้อ จากคำบอกเล่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เราพบว่าผู้ป่วยมักมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โดยปกติผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยจะได้รับให้อาหารทางสายให้อาหารซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการให้อาหารทางหน้าท้อง ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการกระตุ้นให้ใช้ความสามารถของร่างกายและสมองที่เหลืออยู่ฝึกฝนเพื่อชดเชยความพิการ

หากเป็นเช่นนี้นานๆ ผู้ป่วยจะยิ่งสูญเสียความสามารถในการกลืน และจากการศึกษาถึงภาวะแทรกซ้อนพบว่า ความบกพร่องทางด้านการกลืนที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทนั้นได้บ่อยที่สุดและพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการกลืนจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา

จำเป็นที่จะต้องใส่ใจในการจัดการกับการสูญเสียหน้าที่ในการกลืนและการประเมินที่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบาก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อาทิ ภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อในปอด

ฉะนั้นในบทความนี้จะขอกล่าวถึงสูตรอาหารต่างๆที่สามารถให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อใช้ฝึกการกลืนและที่สำคัญการฝึกกลืนนั้นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหารและนักกายภาพอย่างใกล้ชิด

สิ่งที่ผู้ป่วยใช้ฝึกการกลืนนั้นอาหารจะต้องมีความพิเศษทางกายภาพให้เอื้อต่อสมรรถภาพการกลืนของผู้ป่วย อาหารที่มีความหนืดสูง ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้แรงในการกลืนสูง

ขณะที่อาหารที่มีความหนืดน้อย เช่น น้ำ กลืนง่ายแต่สำลักง่ายเนื่องจากมีความสามารถในการไหล(Flowabitity) อาหารที่มีการทดลองในผู้ป่วยที่มีความเหมาะสม อาทิ

1.โจ๊กปั่น ที่มีส่วนผสมของ ข้าว : สันในไก่ : ตำลึง

2.โจ็กบะหมี่ปั่น ที่มีส่วนผสมของ เส้นหมี่ : ไข่ขาว : ฟักทอง

3.นมถั่วเหลืองปั่น ที่มีส่วนผสมของ น้ำเต้าหู้ : ไข่ขาว : แครอท

4.ซุปข้าวโพดปั่น ที่มีส่วนผสมของ ข้าวโพดต้มฝาน: สันในไก่ : ตำลึง

การเลือกใช้อาหารที่วางขายตามท้องตลาด เช่น เยลลี่ ยังใช้ได้ในกรณีเร่งด่วน
จากการศึกษาพบว่าเยลลี่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีกว่าน้ำ เพราะไม่กระจาย แต่กลืนยาก
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อลิ้นหรือกล้ามเนื้อคอหอยอ่อนแรง
อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารต่ำจึงไม่ควรใช้เป็นอาหารหลัก
ทั้งยังห้ามรับประทานอาหารที่มีความหนืดสูงเช่น ขนมโก๋ ขนมเปี้ยะ อาจกลืนติดและอุดกั้นทางเดินหายใจ อาจอันตรายถึงชีวิตได้

ด้านรสชาติของอาหารพบว่าผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมอง เชื่อว่าอาหารรสเปรี้ยวกระตุ้นต่อมรับรสให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นและควรระมัดระวังในขนาดคำที่ป้อนผู้ป่วย ห้ามให้อาหารคำโตเด็ดขาด เพราะอาจกลืนติดจนอุดทางเดินหายใจได้

เพื่อให้เป็นการแน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ การดูแลด้วยการบันทึกชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานได้ในแต่ละมื้อ เพื่อให้แพทย์หรือนักกำหนดอาหารสามารถประเมินอาหารที่ได้รับเพียงพอหรือไม่ และปรับเปลี่ยนนำไปสู่กระบวนการให้อาหารหรือส่วนผสมที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยต่อไป.

อ้างอิงจาก Dysphagia and Aspiration วิทูร ลีลามานิตย์
เรียบเรียงโดย พรพิศ เรืองขจร
นักวิชาการโภชนาการ ชำนาญการ8 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

: กาย
: บทความสุขภาพ
: สุขภาพ
:

พรพิศ 30 ส.ค. 2553 13 ก.ย. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย