ปัจจุบันบ้านเรามีผู้สูงอายุ มากกว่า 2.5 ล้านคนแล้ว
สุขภาพของคนเราเมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมต่างๆในร่างกายก็มากขี้น ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งได้ แต่เราสามารถชะลอได้
อ.แรกหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกินจะกินอย่างไรดี
ต้องกินให้ครบ5หมู่และหลากหลาย
ในอาหารแต่ละชนิดจะมีสารอาหารและคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันไม่มีอะไรทดแทนกันได้
กินข้าวและธัญพืชที่ขัดสีน้อย
วิตามินบีที่อยู่ในอาหารประเภทนี้ จะช่วยดูแลเซลล์สมองให้เสื่อมช้าลงไม่ควรกินเกิน 5-6 ทัพพีต่อวัน
พืชผัก
ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์สูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเกิดโรคมะเร็งได้ 20-30% ใยอาหารที่อยู่ในพืชผักยังช่วยในการระบายของเสียขึ้นชื่อว่าของเสียก็อย่าให้ มันอยู่ในตัวเรานาน เพราะจะดูดซับสารพิษกลับเข้ามาในร่างกาย ผักต่างๆควรกินให้ได้อย่างน้อย 3 ขีด – ½ กก.การกินผักนั้น
ไม่ต้องห่วงเรื่องเคี้ยวไม่ออก สามารถนึ่งให้สุกนิ่มๆก่อนได้ เรื่องวิตามินที่จะสลายไปกับน้ำนั้นน้อยมาก แต่ใช้วิธีนึ่งหรือเอาเข้าไมโครเวฟเป็นอันสิ้นเรื่อง
ผลไม้คู่หูของผัก
ควรกินหลังอาหารทุกมื้อละไม่เกิน 10 คำ ถ้าเป็นผล เช่น ส้มเขียวหวาน 1 ผล , ชมพู่ 2 ผล ,กล้วยหอม 1 ผล เป็นต้น เพราะในผลไม้จะมีน้ำตาลสูงกินมากกว่านี้จะอ้วนเสียเปล่าๆ
เนื้อสัตว์
วัยนี้ควรกินปลา เป็นหลักเพราะปลาเป็นอาหารที่ให้โปรตีนที่มีคุณภาพสูง ย่อยง่าย ไขมันต่ำ หรือจะเป็นไข่ขาวก็ดี ไม่มีไขมันเลยมีแต่โปรตีนล้วนๆ กินแค่วันละไม่เกิน 2 ขีด ก็พอแล้ว
ดื่มนม
ควรดื่มนมพร่องมันเนยอย่างน้อยวันละ 1 แก้วหรือกินโยเกิร์ตก็สามารถทดแทนกันได้ แต่ต้องเลือกชนิดที่เป็นรสธรรมชาติ เพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
รสหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด มันจัด เพราะอาจเกิดปัญหากับระบบย่อยอาหารได้
หลีกเลี่ยงหรืองดเครื่องดื่มอัลกอฮอร์
เพราะวัยสูงอายุการดูดซึมสารอาหารที่กินมีประสิทธิภาพลดลงอยู่แล้ว การดื่มเครื่องดื่มอัลกอฮอร์เข้าไป จะยิ่งไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหารไปอีกด้วย
เมื่อถึงวัยสูงอายุแล้ว ต้องลดพลังงานจากการกินอาหารลง เนื่องจากระบบการเผาผลาญอาหารลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็ร่างกายก็ต้องการสารอาหารเพิ่ม เพื่อไปซ่อมแซมเซลล์ที่เริ่มเสื่อม ฉะนั้นจะต้องเลือกกินอาหารที่ให้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
อ.ที่สองออกกำลังกาย
ควรหาวิธีการออกกำลังที่เหมาะสมกับตัวเองและออกกำลังอย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วันๆละอย่างน้อย ½ ชั่วโมง
อ.อารมณ์
เมื่อเกิดความเครียดเข้าหรือไม่สบายใจ พยายามสลัดออกให้เร็ว อย่าหมกมุ่น หาทางออกด้วยวิธีการนั่งสมาธิ ไหว้พระ ออกกำลังกาย อ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกับลูกหลาน
วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก บางคนสามารถปรับตัวยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่หลายคนไม่สามารถปรับตัวได้
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อ การบริโภคอาหารและสุขภาพกาย สุขภาพใจของผู้สูงอายุได้ การดูแลอย่างใกล้ชิด จัดอาหารถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการ การรับประทานอาหารร่วมกันหรือการเปลี่ยนบรรยากาศในการรับประทานอาหารบ้าง
เป็นสิ่งจำเป็นที่ลูกๆหลานๆ ไม่ควรละเลย
เรียบเรียงโดย พรพิศ เรืองขจร