ผู้เขียนมักจะพบว่า
มีข้อมูลที่หลากหลาย บางครั้งข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกต้องในบางส่วนซึ่งอาจเกิดความเข้าใจผิดและนำไปปฏิบัติแบบผิดอาจเกิดผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและโรค ยกตัวอย่างเช่น
1.ไม่ควรกินเห็ดใช่หรือไม่
ตอบ ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ห้ามรับประทานเห็ดเพราะจะไปกระตุ้นการสะสม “ยูริก” ตามข้อในร่างกาย
2.เพราะเหตุใดจึงต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยอดกระถินยอดชะอมถั่วงอก
ตอบ เพราะผักในกลุ่มนี้จะมีปริมาณกรดยูริกค่อนข้างสูง เพราะมีการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งเป็นยอดอ่อนที่กำลังงอก แต่ในคนที่มีประมาณกรดยูริก ไม่สูงมากนักก็ไม่ทำให้ระดับกรดยูริกเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งปริมาณที่ควรทานไม่เกิน 100 กรัมต่อวันและไม่บ่อยจนเกินไป
3รับประทานซุปไก่สกัดได้หรือไม่
ตอบ คุณค่าทางโภชนาการโปรตีนในซุปไก่ 1 ขวดเท่ากับโปรตีนใน ไข่ไก่ 1/2 ฟอง และโปรตีนในนมสด 1/3 กล่อง
กรรมวิธีของ ซุปไก่สกัดเอาไก่ทั้งตัว (แยกเครื่องในออกแล้ว ) ต้มในหม้อความดัน จนเนื้อเปื่อยแล้วก็เอาไปกรองจนใส นำมาต้มอีกจนเหลือแค่ 1 ใน 3 ใส่คาราเมลเพื่อปรับสีฉะนั้นไม่ต้องกลัวเรื่องสารพิวรีนซึ่งจะมีอยู่น้อย
4รับประทานลูกเดือยแล้วจะช่วยรักษาโรคเกาต์ได้
ตอบ ลูกเดือยเป็นพืชตระกูลข้าว มีฤทธิ์เย็น ช่วยหล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ บรรเทาอาการปวดข้อเรื้อรังเพราะ มีวิตามินบี 1 มากกว่าข้าวกล้องในลูกเดือยกล้องยังไม่ผ่านการขัดจะมีไฟเบอร์สูง ซึ่งอาจให้ผลทางอ้อมกับโรคเกาต์
5รับประทานปลาหมึกได้หรือไม่
ตอบ ปลาหมึกมีปริมาณสารพิวรีนปานกลางจากน้ำหนัก 100 กรัม สามารถเลือกรับประทานได้แต่ไม่ควรบ่อยและปริมาณสูงเกินไป แต่ที่น่ากังวลมากกว่าคือปริมาณโคเลสเตอรอลที่มีสูงมากกว่า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อ้วนมักมีความเสี่ยงสูง
6ชาและกาแฟรับประทานได้หรือไม่
ตอบ กาแฟมีสารคาเฟอีนจัดเป็นสารเคมีอยู่ในกลุ่มดิอ๊อกซีพิวรีน (Deoxypurine) ซึ่งสารประเภท Purine อาจเป็นข้อจำกัดสำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าต์ ดังนั้นกาแฟจึงอาจดูเหมือนเป็นข้อจำกัดสำหรับคนเป็นโรคเกาต์ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณสารกลุ่มนี้ในกาเฟมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับสารพิวรีนที่อยู่ในโปรตีนคือน้อยกว่า 15 มิลลิกรัมต่อ 100 ซีซี
เครื่องดื่มประเภท ชานั้นไม่มีผลต่อระดับกรดยูริกอย่างไรก็ตามคาเฟอีนในเครื่องดื่มนั้นไม่ได้เป็นข้อจำกัดสำหรับโรคเกาต์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องกินกาแฟในปริมาณมาก ๆได้เช่นเดียวกันเพราะการดื่มกาแฟเกิน 3 ถ้วยต่อวัน อาจจะทำให้สูญเสียแคลเซียมได้ และคาเฟอีนนั้นมีฤทธิ์ทำให้ขับปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะมาก ๆ อาจทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดเข้มข้นขึ้น อาจเป็นข้อพิจารณาสำหรับคนเป็นโรคเกาต์ได้เช่นกัน.
เข้าถึงได้จาก Healthy/purine.htm
เรียบเรียงโดย พรพิศ เรืองขจร
นักวิชาการโภชนาการ ชำนาญการ 8 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์