โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ นอกจากความผิดปกติของการทำหน้าที่ต่างๆของอวัยวะในร่างกาย อายุที่มากขึ้น ความเครียด สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
หนึ่งในปัญหาของการบริโภคอาหารประเภทผลไม้ทีมีรสหวานเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน
น้ำตาลในผลไม้หลายชนิดได้แก่ ฟรุคโตส กลูโคส และซูโครส ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการผลิตอินซูลินของตับอ่อน ทำให้ปริมาณอินซูลินไม่เพียงพอที่จะนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน ระดับกลูโคสในเลือดจึงสูงขึ้น แต่ฟรุคโตสในผลไม้สามารถเข้าสู่เซลล์ได้โดยไม่ต้องพึงอินซูลิน ฉะนั้นบทความนี้
จึงนำผลการศึกษา การวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลในผลไม้ไทย เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกรับประทานผลไม้ให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคเบาหวาน
การวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลในผลไม้ จำนวน 82 ตัวอย่างและผลไม้แปรรูป 34 ตัวอย่าง โดยวิธี High performance liquid chromatograhy ( HPLC )
ในการศึกษาพบว่า ผลไม้ทีมีปริมาณน้ำตาลสูงมากในน้ำหนัก100 กรัม คืออินทผาลัม( 55.30)และพุทราจีนแห้ง(51.35)
เนื่องจากผผลไม้ชนิดนี้มีน้ำเป็นองค์ประกอบน้อย แต่ผลไม้ทีมีน้ำตาลสูงกว่าคือ มะขามหวาน(58.28)
ในกลุ่มของกล้วย กล้วยน้ำว้ามีน้ำตาลสูงสุด(23.67) กล้วยไข่(21.83)กล้วยหอม(20.67) กล้วยหักมุก(17.29)และกล้วยเล็บมือนาง(16.76)
ความแตกต่างของชนิดน้ำตาลในกล้วยทั้ง 5 ชนิดนี้คือ กล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุกไม่มีน้ำตาลซูโครสและน้ำตาลเกือบทั้งหมดในกล้วยเล็บมือนาง เป็นน้ำตาลซูโครส
ลิ้นจี่ พันธุ์กะโหลกมีน้ำตาลสูงที่สุด(18.65) และลิ้นจี่ทุกพันธุ์ไม่มีน้ำตาลซูโครสเลย ทุเรียนก้านยาว(12.89)มีน้ำตาลมากกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ
ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน
ผลไม้ที่ควรรับประทานนอกจากการพิจารณาปริมาณน้ำตาลแล้ว ชนิดของน้ำตาลควรให้มีฟรุคโตสสูงกว่ากลูโคส
ผลไม้ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ได้แก่ แอปเปิ้ล สาลี่หอม สาลี่น้ำผึ้ง ฝรั่ง
กรณีของแก้วมังกรแม้จะมีน้ำตาลน้อยกว่า 10 % และมีใยอาหารสูงแต่เป็นน้ำตาลกลูโคส มากกว่าฟรุคโตส ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัดและผลไม้แปรรูป ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด หรือจำกัดปริมาณอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้แปรรูป ผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากต้องมีปริมาณน้ำตาลน้อยแล้ว
ควรเลือกชนิดที่มีฟรุคโตสสูงกว่า กลูโคสมากๆและซูโครสต่ำด้วย เช่น แอบเปิ้ล ฝรั่ง เป็นต้น
สรุปสุดท้ายการรับประทานอาหารทุกชนิด จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และโทษ ทั้งปริมาณ ชนิดให้เหมาะสมและพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย เพราะไม่มีอาหารชนิดใดในโลกที่จะให้ประโยชน์เพียงอย่างเดียวหรือมีแต่โทษเพียงอย่างเดียว
อ้างอิง รายงานการศึกษาวิจัย โครงการรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน
เรียบเรียงโดย พรพิศ เรืองขจร
นักวิชาการโภชนาการ ชำนาญการ 8 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ขอบคุณนะคะ
หลงรับประทานแก้วมังกรไปหลายเหมือนกัน
โชดีที่อ่านบทความนี้ค่ะ และจะนำไปบอกเพื่อนๆค่ะ