ในช่วงเดือนรอมฏอมเป็นเดือนที่ผู้ป่วยเบาหวานชาวมุสลิม ต้องการถือศีลอดซึ่งการถือศีลอดในขณะที่คนเรามีภาวการณ์เจ็บป่วยต่างๆอยู่ด้วยนั้น
ความจริงแล้วผู้ที่ป่วยนั้นก็ได้รับการยกเว้นอยู่แล้วไม่ให้ต้องถือศีลอดและให้ไปใช้ในวันอื่นแทนแต่อย่างไรก็ตามพระผู้เป็นเจ้าทรงบอกไว้ว่า การถือบวชนั้นถ้าทำได้ย่อมเป็นการดีสำหรับตัวเอง
ข้อแนะนำทางโภชนาการช่วงระหว่างการถือศีลอด คือผู้ป่วยเบาหวานชาวมุสลิมที่ต้องการถือศีลอดควรได้รับการประเมินและการเตรียมตัวก่อนถือศีลอด 1-2 เดือน เพื่อปรับยาหรืออาหารและการออกกำลังกายเพื่อความปลอดภัย
อาหารช่วงระหว่างถือศีลอดไม่ควรแตกต่างจากอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะต้องมองในด้านความสมดุลระยะเวลาการอดอาหารอาจจะยาวนานถึง14 ชั่วโมง
จึงควรเลือกอาหารที่ปลดปล่อยพลังงานอย่างช้าๆและมีใยอาหารสูงเช่นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ผู้ป่วยเบาหวานควรให้รับประทานอาหารที่เหมาะสม ดื่มน้ำให้มากในช่วงเวลาที่รับประทานอาหารได้ จำกัดอาหารทอดและอาหารมันและจำกัดอาหารหวานในมื้อแรกหลังตะวันตกดิน ปริมาณอาหารไม่จำเป็นว่าจะต้องกินมากเกินไปในแต่ละมื้อ
ผู้ที่เป็นเบาหวานอาจรับประทาน3มื้อแทน2มื้อ โดยพยายามกระจายปริมาณคาร์โบไฮเดรตออกไปทั้ง 3 มื้อ
ระหว่างการอดอาหารร่างกายคนเรามีกลไกปกติ ที่จะกระตุ้นให้ร่างกายใช้ไขมันอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดระบบการเผาผลาญพลังงานจะทำงานช้าลงระหว่างการถือศีลอด
แม้ปริมาณอาหารที่รับประทานจะน้อยลงกว่าปกติ แต่ถ้าเป็นอาหารสมดุลก็เพียงพอที่จะทำให้มีสุขภาพดีและไม่อ่อนเพลียได้ในระหว่างที่ถือศีลอด
อ้างอิงจาก
ศัลยา คงสมบูรณ์เวช / อาหารบำบัดโรค