โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีโอกาสหายน้อย วงการแพทย์ยังค้นไม่พบวิธีการที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหายเป็นปกติ
แต่เราสามารภเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้โดยหากมีวินัยในการดูแลตนเอง รวมทั้งในครอบครัวให้ความร่วมมือจัดในการดูแลผู้ป่วย อาหารสำหรับผู้เบาหวานชนิดนี้
ผู้เขียนมักบอกกับผู้ป่วยและญาติๆเสมอว่าไม่ใช้อาหารที่ต้องทำแปลกแยกออกไปคงต้องใช้คำนี้ เพราะจากประสบการณ์ผู้ป่วยหลายท่านได้รับการดูแลแบบแบ่งแยกทั้งเรื่องอาหาร การดำรงชีวิต รับประทานอาหารก็ไม่เหมือนคนอื่นๆในครอบครัว มีสำรับแยกออกมานั่งรับประทานคนเดียวอาหารไม่เหมือนกันยิ่งทำให้ผู้ป่วยเกิด ความเครียด
จากงานวิจัย ภาวะความเครียดมีผลอย่างกว้างขวางต่อ Metabolic activity ทำให้มี counter regulatory hormones ออกมา กลุ่มนี้มีฮอร์โมนหลายตัว โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง stress hormone จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในขณะที่รอผลของอินซูลินหรือ Insulin resistance มากขึ้น
ปกติคนเราถ้าเครียด น้ำตาลจะสูงมากขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่เป็นปัญหามาก เพราะอินซูลินทำงานชดเชยได้ แต่ปัญหาของคนที่เป็นเบาหวาน อินซูลินใช้งานไม่ได้ พอ stress hormone ออกมาเกิด relative โดยเปรียบเทียบกับฤทธิ์ของการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีการทดลองแบบ Intervention studies พบว่าคนที่ควบคุมความเครียดได้ดี สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่า ในผู้ป่วยเบาหวาน (ทีปทัศน์ : กองการแพทย์ทางเลือก)
ฉะนั้นสิ่งที่ผู้ขียนมักย้ำกับผู้ป่วยและญาติเสมอว่าลูกๆนั้นล่ะต้องทำอาหารสำหรับเบาหวานแล้วรับประทานกันทั้งครอบครัว เพราะอาหารชนิดนี้ถือว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ สามารถป้องกันมิให้เกิดโรคต่างๆได้อีกด้วย
อาหารจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงหรือต่ำได้เพราะอาหารที่เรากินเข้าไปทุกชนิดจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลในร่างกาย หากเราไม่ควบคุมก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นในทางกลับกัน หากเรากินน้อยเกินก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงต้องเลือกอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกายเพื่อสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงมากที่สุด
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
1.อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือควรงด
2.อาหารที่รับประทานได้โดยไม่จำกัดจำนวน
3.อาหารที่รับประทานได้แต่ต้องจำกัด
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือควรงด
ผู้เขียนไม่ชอบใช้คำว่า “ ต้องงด..ต้องไม่ ”กับผู้ป่วยด้วยเหตุว่าผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นจะมีคุณลักษณะพิเศษคือ มีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนนั้นล่ะ เป็นผู้สูงวัยและมักมีโรคต่างๆมารวมตัวกันเห็นไหมค่ะการใช้คำว่า งด โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากโรคเบาหวานชนิดนี้มักเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย ฉะนั้นจะให้ผู้ป่วยที่สูงวัย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะค่อยเป็นค่อยไปต้องใช้เวลาและเทคนิคขั้นสูงเลยทีเดียว
อาหารที่เลี่ยงหรืองดรับประทาน
-ขนมหวานทุกประเภท เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น หม้อแกง ของเชื่อมต่างๆ เค้กต่างๆ ฯลฯ
-ผลไม้รสหวานจัด เช่น เงาะ องุ่น ทุเรียน ขนุน ละมุด น้อยหน่า อ้อย ฯลฯ
-น้ำตาลทุกประเภท เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง ฯลฯ
-เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้คั้นสดฯลฯ
-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 กรัมให้พลังงานสูงถึง 7 กิโลแคลอรี พลังงานส่วนเกินเหล่านี้ จะไปสะสมในร่างกายและร้อยละ 95 ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะซึมเข้ากระแสเลือด โดยผ่านทางเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปขยายหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้น เส้นเลือดจึงแตกง่าย เพิ่มโอกาสเสี่ยงหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) นอกจากนี้ ฤทธิ์แอลกอฮอล์จะทำให้เม็ดเลือดเกาะกันเป็นก้อนเหนียว ทำให้การไหลเวียนเลือดหนืดขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว การทำงานของไตล้มเหลว และเสียชีวิตได้
-ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ดอง เนื่องจากอาหารในกลุ่มนี้เป็นผลิตภัณฑ์มิได้มีส่วนผสมของน้ำตาลแต่มีส่วนผสมของเกลือสูงด้วยเช่นกัน
-ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป อาทิ ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีปริมาณเกลือ ไขมันและสารเคมีต่างๆ
อาหารที่รับประทานได้โดยไม่จำกัดจำนวน
-ผักประเภทใบต่างๆ จะมีปริมาณแป้งและน้ำตาลน้อย เช่น คะน้า ตำลึง บวบ ฟักเขียว ผักบุ้ง กะหล่ำปลี กวางตุ้ง แตงกวา ผักกาดหอม ผักโขม มะเขือเทศต่างๆ เป็นต้น
ปัจจุบันอาหารมักเน้นให้มีการกินปริมาณใยอาหารมากขึ้น จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและโคเลสเตอรอล ลดลงได้
-เครื่องปรุงรส เช่น พริกไทย เครื่องเทศ น้ำส้ม น้ำซุปใส วุ้นไม่ใส่น้ำตาล ชา กาแฟไม่ใส่น้ำตาลและนมข้นหวาน ข่า ตะไคร้ พริก กระเทียม ฯลฯ การใช้สมุนไพรเพื่อเป็นตัวช่วยในการปรุงอาหาร ให้มีรสชาติ กลิ่นที่ชวนรับประทาน
อาหารที่รับประทานได้แต่ต้องจำกัดติดตามอ่านได้จากกินอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ตอนที่ 2
อ้างอิงจาก
วารสารการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
เวชปฏิบัติผู้ป่วยเบาหวานปี2551 สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย