อาจารย์ดร.อี เลียเนอร์ บิมลา ชวาร์ซ และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิทส์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (post-menopausal; post- = หลัง; meno- = month = เดือน; pause = หยุด; menopause = หมดประจำเดือน) เกือบ 140,000 คน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนม (breastfeed; breast = เต้านม; feed = เลี้ยง; breastfeed = เลี้ยงลูกด้วยนมแม่) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และสโตรค (stroke = กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ได้ 10% BBC รายงาน
การเลี้ยงลูกด้วยนม 1 เดือนขึ้นไป ช่วยลดความเสี่ยงเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม กระดูกโปร่งบาง (osteoporosis / กระดูกพรุน) ของคุณแม่
ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมรวมเวลาได้มากกว่า 1 ปีช่วยลดเสี่ยงโรคดังต่อไปนี้
- ความดันเลือดสูง > 12%
- เบาหวาน + ไขมันในเลือดสูง > 20%
และช่วยลดโรคของคุณลูกได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน หอบหืด การติดเชื้อของหู – กระเพาะอาหาร – ทรวงอก (ปอด)
กลไกที่เป็นไปได้คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมทำให้ร่างกายต้องสลายเนื้อเยื่อไขมันเข้าสู่กระแสเลือด หลังจากนั้นจะ “กรอง” ไขมันในเลือดออกเป็น “น้ำนม” ทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายลดลง
กลไกอื่นคือ ความรัก ความเมตตาในช่วงการให้นมลูก ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และส่งผลดีต่อสุขภาพอีกต่อหนึ่ง
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนาน ๆ ครับ
ภาพจาก Flickr.com