อ่าน: 258

โรคหัวใจต้องกินอย่างไร

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำความนิยมบริโภคอาการประเภทฟาสต์ฟู๊ด เช่น พิซซ่า ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน

ผู้ป่วยโรคหัวใจโดนเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามมากขึ้นดังนี้
1. จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอันตรายและโคเลสเตอรอล
การจำกัดการบริโภคอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัวแลไขมันชนิด trans fat ร่วมกับจำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคลเลสเตอรอลสูง จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ เนื่องจากโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจะทำให้เกิดการสะสมของ plaque (ส่วนของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด) ทำให้รูของเส้นเลือดแดงเล็กลง ทำให้เกิดโรคหัวใจวายและโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ
คำแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารประเภทไขมัน
ไขมันอิ่มตัวและ trans fat ควรบริโภคไม่เกิน 15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ควรบริโภคน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน
Trans fat เป็นไขมันที่ผ่านการแปรสภาพโดยการเติมโอโดรเจนทำให้น้ำมันข้นขึ้น ขาวขึ้น และละลายหรือปนกับน้ำได้ง่ายขึ้น ส่วนที่อันตรายมากของไขมันทรานส์ คือเป็นตัวเพิ่มไขมันชนิดเลว (LDL) และกำจัดไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งไขมันทรานส์นี้เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
แล้วมันอยู่ในอะไรบ้าง? ไขมันทรานส์ใช้ในการผลิต ขนมเบเกอรี่ เช่น พาย เค้ก คุกกี้ ขนมปัง ฯลฯ นั่นคือมาการีนและเนยขาวนั่นเอง และยังมีในครีมเทียมและอาหารทอดที่ใช้ความร้อนสูงๆ เช่น ไก่ทอด หรือแฮมเบอเกอร์ ดังนั้นจึงควรงดบริโภคอาหารประเภท เนย มาการีนชนิดที่เป็น hydrogenated สารที่ทำให้แป้งกรอบ หลีกเลี่ยงการรับประทานครีม เกรวี่
2. ควรเลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
อาหารหลายประเภทเช่น เนื้อสัตว์ต้องไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ปลา นม ไข่ เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ใหโปรตีน แต่บางชนิดจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารโปรตีนความเลือกในกลุ่มที่มีปริมาณไขมันต่ำ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะรับประทานนมควรเลือกนมพร่องมันเนย นมสูตรไขมันต่ำ(low fat) มากกว่าที่จะดื่มนมสด การรับประทานเนื้อสัตว์ควรเลือกรับประทานส่วนที่ไม่ติดมัน งดรับประทานส่วนที่เป็นหนัง งดการรับประทานเครื่องในสัตว์ เพราะมีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง การรับประทานไข่ควรเลือกเฉพาะไข่ขาว เพราะไข่ข่าวจะมีโปรตีนที่มีคุณภาพดี ไขมันน้อยมาก
นอกจากนี้อาจเลือกรับประทานแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนจากพืช เช่นอาหารประเภทถั่ว ถั่วเหลือง การรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาทะเล นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้วยังมีไขมันชนิดโอเมกา 3 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันไตรกลีเซอรไรด์ในเลือด และป้องกันภาวะหัวใจวายได้ด้วย
3. รับประทานผักให้มากและรับประทานผลไม้เป็นประจำ
ร่างกายต้องการวิตามินและแร่ธาตุจากการรับประทานผัก ผลไม้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และเป็นตัวนำสารอาหารที่สำคัญไปใช้ในทุกระบบของร่างกาย การรับประทานผักในปริมาณที่พอดี (ไม่ต่ำกว่า ½ กิโลกรัม/วัน) จะทำให้ร่างกายได้รับใยอาหารช่วยในการขับถ่าย นำโคเลสเตอรอลและสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมของสารพิษเหล่านั้น เพื่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง จึงควรรับประทานพืชผักทุกมื้อให้หลากหลายชนิดสลับกันไป
ควรรับประทานผลไม้เป็นประจำหลังรับประทานอาหาร แต่ไม่ควรเกิน 3 ขีดต่อวัน เนื่องจากในผลไม้จะมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง ควรรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น แอปเปิ้ล ส้มเขียนหวาน สับปะรด แก้วมังกร แคนตาลูป แตงโม ฝรั่ง ฯลฯ
4. ลดอาหารเค็ม คิดเป็นปริมาณเกลือในอาหารให้น้อยกว่า 6 กรัม (ประมาณช้อนชากว่าเล็กน้อย) ต้องรวมอาหารที่มีเกลือ หรือความเค็มแฝงอยู่อื่นๆ ด้วย ไม่ควรเติมเกลือ น้ำปลาในอาหารมีรสชาติเค็มจัด ได้แก่

  • ของแห้งเค็มและรมควัน เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง หมูแฮม เบคอนไส้กรอก
  • อาหารที่ใส่เกลือ เช่น ถั่วทอด ถั่วอบเนย มันทอด ข้าวโพดคั่ว
  • อาหารกระป๋อง เช่น ผักกาดดอง แตงกวาดอง

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของเรานั้นไม่ใช่เรื่องยากเพียงตั้งใจจริง รับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน ตามหลักโภชนาการและปรับให้เหมาะสมสำหรับสุขภาพของคุณ เพียงเท่านี้คุณจะสามารถรักษาสภาวะของร่างกายที่ดีได้ตลอดไป

อ้างอิง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. Nutrition and health promotion. ใน: ประชุมวิชาการเรื่อง Nutritionupdate on healthy promotion; ณ ห้องประชุมสยามมงกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปีแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิคุณแม่คุณภาพร่วมกับคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต; 2546.หน้า 1-5

ที่มา
งานโภชนาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

: กาย
: บทความสุขภาพ
: สุขภาพดี
: อาหาร โรคหัวใจ

Share |
พรรณภัทร 16 มิ.ย. 2553 16 มิ.ย. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย