อ่าน: 2587
Small_font Large_font

การใช้หมากฝรั่งเลิกบุหรี่

หมากฝรั่งนิโคติน

ส่วนประกอบ
ในหมากฝรั่ง 1 ชิ้นประกอบด้วยนิโคติน 2 มิลลิกรัมและ 4 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้
ช่วยทำให้ผู้ป่วยติดบุหรี่มีความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่โดยช่วยลดอาการอยากบุหรี่

ขนาดยา
ในผู้ใหญ่ : ควรเลือกใช้หมากฝรั่งนิโคตินในขนาดที่เหมาะสมตามลักษณะและความรุนแรงของการติด

  • สูบบุหรี่ < 25 มวนต่อวันหรือได้คะแนน fagerstorm < 7 : ให้ใช้นิโคตินขนาด 2 mg
  • สูบบุหรี่ > = 25 มวนต่อวันหรือได้คะแนน fagerstorm >= 7 : ให้ใช้นิโคตินขนาด 4 mg
  • สัปดาห์ที่ 1-6 : ใช้ 1 ชิ้นทุก 1-2 ชั่วโมง
  • สัปดาห์ที่ 7-9 : ใช้ 1 ชิ้นทุก 2-4 ชั่วโทง
  • สัปดาห์ที่ 10-12 : ใช้ 1 ชิ้นทุก 4-8 ชั่วโทง

ในเด็ก : ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในเด็ก

วิธีการใช้

  1. เคี้ยวหมากฝรั่งนิโคตินครั้งละ 1 เม็ดโดยเคี้ยวช้าๆ และหยุดเป็นพักๆ ในระหว่างที่เคี้ยว
  2. อาจเคี้ยวหมากฝรั่งติดต่อกันประมาณ 10 ครั้งแล้วหยุดเคี้ยวสักครู่ อมหมากฝรั่งให้อยู่ระหว่างริมฝีปากหรือกระพุ้งแก้มสัก 1-2 นาที
  3. เริ่มเคี้ยวหมากฝรั่งต่อโดยเคี้ยวประมาณ 10 ครั้งแล้วหยุดพักอย่างเดิม
  4. เคี้ยวหมากฝรั่งในลักษณะหยุดพักเช่นนี้ต่อไปนานประมาณ 30 นาที
  5. อาจเคี้ยวหมากฝรั่งให้เร็วขึ้นในกรณีที่ต้องการนิโคตินเพิ่มขึ้นหรือเมื่อเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับรสชาติของหมากฝรั่งดีแล้ว

ข้อควรระวังในการใช้

  1. การกลืนน้ำลายมากเกินไปจะทำให้นิโคตินถูกทำลายที่บริเวณกระเพาะอาหารและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
  2. ห้ามกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำอัดลม น้ำส้ม ไวน์ กาแฟ 15 นาทีก่อนเคี้ยวและระหว่างเคี้ยวหมากฝรั่งเลิกบุหรี่
  3. กรณีที่มีการแพ้นิโคติน เช่น หัวใจเต้นเร็วปิดแกติผื่นแดง ผื่นคันที่ผิวหนัง ควรหยุดการใช้หมากฝรั่งทุกกรณีและส่งให้แพทย์ตรวจทันที
  4. ไม่ควรใช้หมากฝรั่งนิโคตินมากกว่า 30 ชื้น/วัน (2mg) หรือ 15 ชิ้น (4mg/วัน) และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 12 สัปดาห์
  5. ควรให้การรักษานานประมาณ 3 เดือน แล้วค่อยๆลดขนาดของนิโคตินที่ได้รับลงอย่างช้าๆ จนสามารถเลิกใช้หมากฝรั่งนิโคตินเมื่อพบว่ามีความต้องการหมากฝรั่งเพียงวันละ 1-2 ชิ้นเท่านั้น

อาการข้างเคียง
โดยทั่วไปแล้วจะพบในช่วงเริ่มต้นหรือสัปดาห์แรกของการใช้ยา โดยมีสาเหตุมาจากการเคี้ยวหมากฝรั่งไม่ถูกวิธี หรืออาจพบความผิดปกติได้ในลักษณะของเฉพาะที่หรือพบได้ในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งมักจะขึ้นกับปริมาณของนิโคตินที่ใช้

หมายเหตุ : อาการหรือความผิดปกติบางชนิดที่อาจพบได้หลังจากที่เริ่มใช้ เช่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้เป็นอาการถอนยาเนื่องจากผู้ป่วยมีระดับของนิโคตินในกระแสเลือดต่ำลงมา

อาการที่พบได้บ่อย : มึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาการไม่สบายท้อง สะอึก ปวดขากรรไกร แผลในปากหรือคอ ท้องอืด ท้องเสีย

อาการที่พบไม่บ่อย : หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ ผื่นแดง ผื่นคัน

ข้อห้ามใช้

  1. ผู้ไม่สูบบุหรี่
  2. ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างรุนแรงและหัวใจเต้นผิดปกติ
  4. ผู้ป่วยที่หลอดอาหารอักเสบ
  5. ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบหรือเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขากรรไกร
  6. สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

ที่มา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

: กาย
: บทความสุขภาพ
: สุขภาพ

พรรณภัทร 11 มิ.ย. 2553 13 มิ.ย. 2553
ความคิดเห็น (4)
« ก่อนหน้า หน้า 1 จาก 1 ถัดไป »

ได้ความรู้ดีมากค่ะ และจะแนะนำให้สามีปฏิบัติตามนี้ ขอบคุณค่ะ

poom (222.123.174.160) 14 มิถุนายน 2553 - 05:47 (#1114)

ขอบคุณมากเลย ที่ให้ความรู้


ตอนนี้หาวิธีให้ป๊าเลิกบุหรี่อยู่ วิธีน่าจะง่ายและได้ผล


ขอบคุณครับ

คนรักป๊ะป่า (125.25.60.218) 20 ธันวาคม 2553 - 19:14 (#1659)

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ดีๆมากเลย

puzzle (49.48.41.163) 05 พฤศจิกายน 2554 - 14:48 (#2984)

เริ่มใช้ยานี้ครับก็เลยมาหาข้อมูล ขอบพระคุณมากๆ

วิรัตน์ (27.55.0.223) 27 ธันวาคม 2554 - 23:47 (#3257)
« ก่อนหน้า หน้า 1 จาก 1 ถัดไป »
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย