อ่าน: 664

“ดูแลหัวใจ ตั้งแต่วัยโจ๋”

โรคหัวใจในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา  เช่น  โรคลิ้นหัวใจหัวใจพิการ  ผนังกั้นหัวใจพิการ เป็นต้น


โรคหัวใจที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด แต่เกิดขึ้นในช่วงที่เป็นวัยเด็ก  มีความหมายรวมไปถึงโรคหัวใจที่มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการเป็นโรคติดเชื้ออื่นๆ ด้วย  เช่น  โรคไข้รูมาติก  โรคคาวาซากิ เป็นต้น




สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจในเด็ก (ประเภทที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด)


ปัจจุบันความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมที่เปลี่ยนเป็นสังคมเมืองมากขึ้น  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพบว่าส่วนหนึ่งมีวิถีชีวิตสุขภาพที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก  การมีวิถีชีวิตสุขภาพที่ไม่ถูกต้องนี้  ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆที่สำคัญ  และมแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้นในกลุ่มเด็ก และวัยรุ่นคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด


 


วิถีชีวิตสุขภาพที่ไม่ถูกต้องที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจในเด็ก


1.การบริโภคที่ไม่ถูกสัดส่วน


การบริโภคเกินอันเป็นสาเหตุของการมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน  เด็กที่มีภาวะอ้วน  หรือน้ำหนักเกิน  จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ


2.การรับควันบุหรี่ จาก...


การสูบบุหรี่  โดยเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็ก


การได้รับควันบุหรี่มือสองจากการที่ผู้อื่นสูบ


ควันบุหรี่มีผลร้ายต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด  ทำให้เส้นเลือดตีบ  ผนังหลอดเลือดหนาหัวใจเต้นผิดปกติ  ทำให้หัวใจขาดออกซิเจน เกิดภาะหัวใจวายได้


3.การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ


การมีวิถีชีวิตนั่งๆ นอนๆ  มีการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกายน้อยใช้เวลาในการนั่งดูโทรทัศน์  เล่นเกมส์  เล่นคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานๆ ร่างกายขาดการออกกำลังกาย  มีผลทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง




ทำอย่างไรให้ “เยาวชนไทย” หัวใจใส  วัยปิ๊ง


การดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่วัยเด็ก สามารถทำได้โดย


1.การบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ


การบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสมมีความสมดุลในด้านพลังงาน  ลดการกินเค็ม  ไม่กินอาหารรสจัด  หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล  กินผักและผลไม้แทนขนมหวาน  และผลิตภัณฑ์ของขบเคี้ยว  ไม่กินจุบจิบ


2.การควบคุมน้ำหนักตัว


ติดตามประเมินน้ำหนักและสมรรถภาพร่างกายทุกปี  เด็กที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน  ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาภาวะอ้วน


3.การออกกำลังกาย


ทั้งที่เป็นการเล่นกีฬา และเป็นการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน  เช่น  การทำงานบ้าน  เดิน  หรือขี่รถจักรยานแทนการนั่งรถ  เดินขึ้นอาคารแทนการใช้ลิฟต์ หรือบันไดเลื่อน    การออกกำลังกายจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงภาวะอ้วน  ช่วยให้เด็กมีสุขภาพดี  กระปรี้กระเปร่า


4.การกำจัดพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ


โดยมีการกำหนดตารางกิจกรรมการออกกำลังกาย  กิจกรรมสันทนาการ  ลดเวลาในการดูโทรทัศน์  การเล่นเกมส์และการเล่นคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง


5.ไม่สูบบุหรี่


รู้จักปฏิเสธคำชักชวนให้สูบบุหรี่รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้สูบบุหรี่




ปัจจัยที่ช่วยรักษาภาวะอ้วนในเด็กให้ประสบผลสำเร็จ  ประกอบด้วย


1.การเริ่มรักษาก่อนเข้าสู่วัยหนุ่มสาว


2.การมีส่วนร่วมระหว่างพ่อแม่ และเด็ก


3.ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนของภาวะอ้วน


4.การร่วมมือจากทีมสุขภาพในการดูแลรักษา


5.การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร  แทนการลดน้ำหนักอย่างสั้นๆ


6.พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างในการบริโภคอาหารสุขภาพ  การมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม และคอยเป็นกำลังใจให้แก่เด็ก




ที่มา : แผ่นพับสำนักโรคไม่ติดต่อ  กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข


เอื้อเฟื้อแผ่นพับโดย : โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
อัญชลี 29 ก.ค. 2552 29 ก.ค. 2552
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย