เทศกาลกินเจ เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 เรียกว่า เก้าโหว่ยเจ หมายถึงเทศกาลกินเจเดือน 9 การกินเจ หมายถึงการไม่กินเนื้อสัตว์และผักอีก 5 ชนิด คือ กระเทียม หลักเกียว หอม กุ่ยช่าย ใบยาสูบ แต่ให้กินพืชผัก – ผลไม้ ครบ 5 สี คือ แดง ดำ เหลือง เขียว และขาว ทำให้ได้กินผัก – ผลไม้ หลากหลายมากยิ่งขึ้นกินถั่วและธัญพืชเป็นหลัก กินงา ไม่กินอาหารรสจัดจนเกินไป ละเว้นอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง การไม่กินเนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นการละเว้นชีวิตซึ่งเป็นการสร้างบุญ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ อีกทางหนึ่ง
กินเจให้ถูกหลัก ได้ประโยชน์กับสุขภาพ ต้องกินให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแม้ต้องละเว้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ซึ้งให้โปรตีนก็สามารถทดแทนได้ด้วยโปรตีนจากพืช
- อาหารที่ให้โปรตีน ส่วนใหญ่ได้จากเนื้อสัตว์ แต่สามารถทดแทนได้ด้วย ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วดำ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว โปรตีนเกษตร ฟองเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ และงา การกินถั่วเมล็ดแห้งร่วมกับข้าว และงาเป็นการเสริมกันให้ได้โปรตีนสมบูรณ์ เช่นเดียวกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์
- อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ข้าวและธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน ลูกเดือย ซึ่งให้ทั้งพลังงาน และใยอาหาร
- อาหารที่ให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ได้แก่ ผัก-ผลไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะสีเหลือง ส้ม แดง และผักตระกูลกะหล่ำ
- อาหารที่ให้พลังงาน และความอบอุ่น ได้แก่ ไขมัน ถ้าปรุงด้วยการผัดควรเลือกน้ำมันประเภทรำข้าว ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน สำหรับการทดลองให้ใช้น้ำมันปาล์ม
กินเจ ...ต้านมะเร็ง
- ธัญพืช ผัก และผลไม้ทุกชนิด ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งช่องปากได้
- ผักตระกูลกะหล่ำ ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนส่วนปลาย มะเร็งเต้านม กระเพาะอาหาร ทางเดินปัสสาวะและต่อมไทรอยด์
- ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม รังไข่เยื่อบุโพรงมดลูก สำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมาก
- ผลไม้ตระกูลส้ม ฝรั่ง สตอเบอร์รี่ ผักใบเขียว พริกหวาน ช่วยป้องกัน มะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ปอด กระเพาะปัสสาวะ สำไส้ใหญ่ ปากมดลูก ช่องปาก กล่องเสียง ตับอ่อน และเต้านม
- ผลไม้สีเหลือง สีส้ม ผักใบเขียวเข้ม ช่วยป้องกันมะเร็วปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งกระเพาะอาหาร สำไส้ กระเพาะปัสสาวะ เต้านม และมดลูก
- ผัก – ผลไม้สีแดง ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร ปอด ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก
กินเจ ...อย่างไร ต้านโรคภัย
เลือกกินผักและผลไม้สดให้ได้วันละประมาณครึ่งกิโลกรัม หรือกินผัก ให้ได้มื้อละ 1-2 ทัพพีกินผลไม้หลังอาหาร หรือกินเป็นอาหารว่าง
- ให้วิตามิน แร่ธาตุ ผักหลายชนิดให้ แคโรทีน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ เช่น ผักตำลึง กะเพรา ผักหวานบ้าน ผักบุ้งจีน ฟักทอง มะละกอสุก มะม่วงสุก พืชผักหลายชนิดให้วิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะขามเทศ ส้มเขียวหวาน พริกหยวก ฟักเขียว ผักบุ้งจีน ดอกขี้เหล็ก ฯลฯ ส่วนแร่ธาตุที่ได้จากผัก เช่น ธาตุเหล็ก โปแตสเซียม แมกนีเซียม
- ให้ใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย ช่วยลดโคเลสเตอรอล ละระดับน้ำตาลในเลือด
- มีสารต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะวิตามินซี สารเบต้าแคโรทีน และใยอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งระบบหายใจเบื้องต้น มะเร็งช่องปาก หลอดคอ หลอดเสียง หลอดอาหาร มะเร็งปอด
- ผักทุกชนิด และผลไม้รสไม่หวาน ให้พลังงานต่ำ เนื่องจากไม่มีไขมัน หากกินผัก ผลไม้ให้ลากหลายและเป็นประจำจะไม่ก่อให้เกิดโรคอ้วนโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และช่วยป้องกันโรคหัวใจ
กินถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วทุกวัน
- ให้โปรตีน และกรดไขมันที่จำเป็นซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล
- มีใยอาหาร ช่วยละระดับโคเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสำไส้ใหญ่สารสังเคราะห์จากพืช เช่น ไอโซฟลาโวนส์ มีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับ เอสโตเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยป้องกันอาการที่เกิดในวัยทองได้ดีและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
กินเจ ...อย่างไรให้ปลอดภัย
- ควรกินถั่วเมล็กแห้ง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ซึ่งเป็นโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ได้ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ในรูปแบบต่างๆ ส่วนมากทำจากแป้งไม่สามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้
- การใช้ผักในการปรุงอาหารต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งและต้องกินผักให้หลากหลาย สับเปลี่ยนไป เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารอย่างครบถ้วน และลดเสี่ยงต่อการได้รับพิษภัยที่อาจปนเปื้อนมากับผักบางชนิด
- การปรุงอาหารเจส่วนใหญ่จะเป็นประเภทผัด ทอด และใส่กะทิ จึงควรใส่น้ำมันแต่พอประมาณ ไม่มากเกินไปและไม่ควรกินอาหาร ผัด ทอด หรือแกงกะทิ ในมื้อเดียวกัน
- อย่าใส่เครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มมากเกินไป เช่น ซีอิ้วเต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ และเกลือ เพราะหากกินในปริมาณมากและเป็นประจำ อาจเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
- ในการเลือกซื้ออาหารเพื่อนำมาปรุงควรเลือกซื้อจากตลาดสดน่าซื้อ หรือร้านที่ได้รับป้ายรับรองอาหารปลอดภัย หรือถ้าเป็นอาหารปรุงสำเร็จควรเลือกซื้อจากร้านที่มีป้าย “Clean Food Good Taste” หรืออาหารสะอาด รสชาติอร่อยและหากซื้อบรรจุถุงกลับบ้าน ควรนนำมาอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง ส่วนอาหารสำเร็จรูปที่บรรจุภาชนะให้เลือกที่มี ตรา อย. เท่านั้น
อาหารเมนูชูสุขภาพเจ
อิ่มบุญ สุขกาย ด้วยเมนูชูสุขภาพเจ
- ข้าวต้มสิบแปดอรหันต์ (ธัญพืชและ 9 ชนิด) โจ๊กผัก ก๋วยเตี๋ยวม้วยเจ
- เต้าหู้แป๊ะซะ พะโล้เจ แกงป่าเต้าหู้เหลือง แกงป่าโปรตีนเกษตร แกงส้มผักรวมเจ ต้มยำเห็ด ต้มยำหัวปลี ต้มจับฉ่าย แกงจืดผักสี่สหาย แกงจืดตำลึงเต้าหู้ แกงจืดกระหล่ำปลี
- ผัดเปรี้ยวหวานเจ ผัดกะหล่ำปลี ผัดบร็อคโคลี่ ผัดผักรวมมิตรเจ (กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ คะน้า แครอท) ผัดพริกขิงถั่วแดง ผัดขิงเต้าหู้ ผัดเต้าหู้ฟักทอง ผัดผักบุ้ง
- ลาบเต้าหู้ ลายเห็ดฟาง ลาบถั่วแดง ยำถั่วพู ยำผักสมุนไพร ยำผักหวานบ้าน ยำวุ้นเส้นเจ พล่าหัวปลี สลัดผัก สลัดฟักทอง สลัดเต้าหู้ ส้มตำผลไม้
- น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกถั่วแดง น้ำพริกมะเขือเทศ น้ำพริกตะไคร้
ที่มา
กองโภชนาการ
กรมอนามััย