เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของสายตาก็เสื่อมลง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน การศึกษาวิจัยพบว่า โอกาสพบอาการจอประสาทตาเสื่อมของชาวเอเชียมีมากพอ ๆ กับชาวตะวันตก
อาการจอประสาทตาเสื่อมนั้นเกิดจากเยื่อชั้นในของลูกตาเสื่อมประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อมูลจากสถาบันดวงตานานาชาติ พบว่าเกือบร้อยละ 30 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปมีอาการดังกล่าว และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ
การประชุมทางปัญญาเคยแถลงไว้ว่าชาวเอเชียมีโอกาสที่จะมีอาการจอประสาทตาเสื่อมน้อยกว่าชาวตะวันตก แต่การศึกษาวิจัยในครั้งนั้นยังไม่ได้ระบุถึงละเอียดถึงชนิดของอาการ
ดร.เรียว คาวาซากิ (Dr. Ryo Kawasaki) จากมหาวิทยาลัยเมล์เบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ศึกษาเก้าความแตกต่างของอาการจอประสาทตาเสื่อมที่เกิดขึ้นกับชาวเอเชีย พบว่ามีสี่อาการที่เกิดขึ้นต่างจากชาวตะวันตก
การศึกษาวิจัยของเขาพบว่าร้อยละ 7 ของชาวเชียที่มีอายุระหว่าง 40 – 79 ปี มีอาการจอประสาทจาเสื่อมในระยะเริ่มต้น ในขณะที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งมีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขกับชาวตะวันตกที่พบชาวตะวันตกร้อยละ 9 มีอาการจอประสาทตาเสื่อมในระยะเริ่มต้น และน้อยกว่าร้อยละ 1 มีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง
นอกจากนี้ยังพบว่าชาวเอเชียเพศชายมีโอกาสที่มีอาการในขั้นรุนแรงมากกว่าชาวตะวันตก แต่ในหญิงเอเชียมีโอกาสน้อยกว่า ซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ยังไม่สามารถที่จะระบุตัวเลขในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปีได้ เพราะมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป
บางงานวิจัยระบุว่า ชาวเอเชียมีโอกาสมีอาการจอประสาทตาเสื่อมแฝงอยู่มากกว่าชาวตะวันตก อย่างไรก็ตามยังต้องการผลการวิจัยชิ้นอื่น ๆ เพื่อหาคำตอบว่าเหตุใดชาวเอเชียจึงมีอาการจอประสาทตาเสื่อมน้อยกว่าชาวตะวันตก และเหตุใดในหญิงชาวเอเชียจึงพบอาการดังกล่าวน้อย
ข่าวจาก: REUTERS