อ่าน: 67

นาฬิกาชีวิต กับเบาหวาน

นาฬิกาชีวิต และ ปริมาณน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่ชัด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว และเปิดเผยอีกว่า เป็นที่น่าตกใจว่า สัญญาณนาฬิกาของร่างกาย ส่งผลต่อส่วนอื่นๆ หนึ่งในนั่นที่สำคัญก็คือระบบการเผาผลาญ หรือ เมตาบอลิซึมของร่างกาย

นักวิจัยพบว่า ความผันผวนของฮอร์โมนในแต่ละวัน จากฮอร์โมนที่เรียกว่า กลูโคคอร์ติคอยด์(glucocorticoids) มักจะเกิดขึ้นตามนาฬิกาของร่างกายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการทำงานที่ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด งานวิจัยนี้ยังช่วยนำเสนอแนวทางในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้ และยังสร้างความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า ผู้ที่ทำงานกลางคืน เสี่ยงที่จะเป้นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

และงานวิจัยนี้ยังช่วยในการหาแนวทางเพื่อลดผลข้างเคียงของการทานยาฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ อาทิ พรีนิสสัน ซึ่งจะไปหยุดระบบภูมิคุ้มกันบางประเภท ที่ใช้เพื่อการรักษาโรคหอบหืด โรคมะเร็ง และอื่นๆ นอกจากนั้นยังสามารถส่งผลข้างเคียงคือ น้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำตาลในเลือดต่ำ และโรคเบาหวานตามมา

วิธีการใช้ กลูโคคอร์ติคอยด์ อาจเปลี่ยนไปแม้ว่ามันจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเบาหวานก็ตาม ด้วยการใช้ยาประเภทนี้ควรเป็นไปตามเสียงของร่างกาย นั่นคือ ทานตอนรุ่งเช้า ซึ่งอาจสามารถดความเสี่ยงต่อเบาหวานได้ นักวิจัยกล่าวทิ้งท้าย

ที่มาhealth

: กาย
: ข่าว
: สุขภาพดี
อัมพวรรณ 12 ต.ค. 2552 12 ต.ค. 2552
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
ความคิดเห็น
captcha
 
หรือ ยกเลิก

เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย