การศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่าแบคทีเรียที่ติดตัวที่ทารกนั้นมีความแตกต่างกัน โดยแบคทีเรียที่ติดตัวอยู่กับเด็กที่ผ่าท้องคลอดนั้นต่างชนิดกับแบคทีเรียที่ติดตัวอยู่กับเด็กที่คอลดโดยธรรมชาติ
สภาพแวดล้อมในมดลูกนั้นเป็นสภาพแวดล้อมที่ปราศจากเชื้อ เด็กจะไม่ได้รับเชื้อใด ๆ ขณะที่อยู่ในมดลูก แต่เมื่อผ่านกระบวนการคลอดเด็กจะได้รับเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้เองที่จะติดตัวเด็กไปและเป็นส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก
นักวิจัยทำการเก็บตัวอย่างเชื้อจากเด็กทารกแรกเกิดและจากมารดา พบว่าเชื้อแบคทีเรียจากตัวเด็กที่คลอดโดยวิธีทางธรรมชาตินั้นจะเป็นเชื้อชนิดเดียวกับบริเวณช่องคลอดของมารดา ในขณะที่เด็กที่คลอดโดยวิธีการผ่าคลอดนั้นพบเชื้อชนิดเดียวกับเชื้อที่อยู่บริเวณผิวหนัง
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดเด็กที่ผ่านการคลอดโดยวิธีการผ่าท้องนั้นมีความไวต่อเชื้อโรคมากว่าเด็กที่คลอดโดยวิธีการทางธรรมชาติ จุลินทรีย์บริเวณช่องคลอดจากแม่นั้นจะมีความไวกว่าจุลินทรีย์บริเวณผิวหนังในการเริ่มฝังตัวอยู่ในเด็ก และสามารถป้องกันเด็กจากเชื้อโรคอื่น ๆ ได้มากกว่า
ข่าวจาก: SCIENTIFIC AMERICAN