อ่าน: 317

อันตรายจากภาชนะบรรจุอาหาร

ปัจจุบันประเทศต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น โดยได้มีการออกมาตรการและข้อกำหนดต่างๆ ในการนำเข้าสินค้าและอาหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารปนเปื้อนที่ใช้ในการผลิตภาชนะบรรจุอาหารเกิดการเคลื่อนย้ายลงสู่อาหารซึ่งอาจส่งผลกระทบกับผู้บริโภคด้านสุขภาพอนามัย โดยมีการค้นคว้าศึกษาวิจัย รวมถึงมีการประกาศเตือนหรือห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่พบสารอันตรายปนเปื้อนออกมาเป็นระยะๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศแคนาดา เป็นประเทศแรกที่กำหนดระเบียบจำกัดการใช้สารบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A: BPA) และให้สารบิสฟินอล เอ เป็นสารอันตราย โดยเร่งดำเนินการร่างข้อกำหนดห้ามการนำเข้า การขาย การโฆษณาภาชนะบรรจุที่มีบิสฟีนอล เอ เป็นส่วนประกอบ และดำเนินการจำกัดปริมาณการปลดปล่อยสารบิสฟีนอล เอ ลงสู่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีข้อมูลว่าสารดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนการพัฒนาหรือขีดความสามารถในการสืบพันธ์ โดยคาดว่าข้อกำหนดดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในปี 2552 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา

บิสฟีนอล เอ (Bisphenol A: BPA) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟีนอล 2 หมู่ในโมเลกุล นิยมใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น ใช้ในการผลิตพลาสติก ชนิดพอลิคาร์บอเนต (Ploycarbonate plastic) ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีลัษณะแข็ง ใส นิยมนำไปใช้ผลิต ขวดน้ำแบบที่นำกลับมาได้ใหม่ ถังบรรจุน้ำดื่มขนาดใหญ่สำหรับเครื่องทำน้ำเย็น และขวดนมเด็ก

นอกจากนี้ยังใช้เป็นองค์ประกอบของอิพ็อกซิเรซิน (epoxy resin) ที่ใช้เคลือบผิวด้านในของกระป๋องสำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่มเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแผ่นโลหะกับอาหารที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนและเสื่อมสภาพของกระป๋อง รวมทั้งใช้เป็นสารเติมแต่งของพลาสติกชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ (Ployvinyl chloride, PVC)

บิสฟีนอล เอ อาจปนเปื้อนลงสู่อาหารได้เนื่องจาก เกิดการพอลิเมอร์ไรเซชั่นของสารตั้งต้นไม่สมบูรณ์ หรืออาจเกิดจากการสลายตัวของพอลิเมอร์เอง เนื่องจากสภาพการใช้งานที่ไม่เหมาะสม โดยสามารถปนเปื้อนและแพร่กระจายลงสู่อาหารได้ดี เนื่องจากบิสฟีนอลเอมีค่าความสามารถในการละลายน้ำ (Solubility in warter at 21.5 องศาเซลเซียส) 120-300 ยยท

ในส่วนของผู้บริโภคอาจหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารบิสฟีนอลเอ โดยการหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกชนิดพอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ หรือเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดสาร บิสฟีนอล เอ (BPA Free) กรณีที่เลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้งานภาชนะนั้นในสภาวะที่เหมาะสมเช่น ไม่ใช้งานที่อุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด ไม่ทำความสะอาดที่รุนแรงจนเกิดรอยขีดข่วนเป็นต้น

ในส่วนของผู้ประกอบการของไทยเองก็จำเป็นต้องมีการปรับตัว พัฒนาผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุอาหารของไทยไม่ให้มีการปนเปื้อนของสารบิสฟีนอล เอ ทั้งบรรจุภัณฑ์ ที่ทำจากพลาสติก และกระป๋องที่ใช้อีกพ็อกซีในการเคลือบกระป๋อง พัฒนาสินค้าอาหารให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับกฎระเบียบของนานาประเทศ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรับกับกฎเกณฑ์ใหม่ๆ และมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป

ที่มา
โึครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
พรรณภัทร 08 ม.ค. 2553 09 ม.ค. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย