อ่าน: 92

เมื่ออากาศเป็นพิษ

ในระยะนี้เกิดมลพิษทางอากาศในหลายจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง เป็นต้น อันเนื่องมาจากไฟป่าที่เกิดขึ้นทำให้เกิดหมอกควัน และฝุ่นฟุ้งกระจายอย่างไม่มีขอบเขตเป็นปริมาณมาก ซึ่งฝุ่นนี้เองทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน เกิดอาการป่วยเป็นไข้โรคภูมิแพ้ หรือโรคเหยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือโรคอื่นๆได้

“มลพิษทางอากาศ” หมายถึง อากาศที่มีองค์ประกอบของสารพิษเจือปนหรือลอยตัวอยู่ในอากาศ ซึ่งสารนั้นอาจมีองค์ประกอบ ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป อาจอยู่ในรูปของอนุภาค ก๊าซหรือไอ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์

“อนุภาค” หมายถึง สารทุกชนิดในรูปของแข็ง หือของเหลว ที่สามารถลอยตัวในอากาศได้ และมีขนาดแตกต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กมากในระดับใกล้เคียงโมเลกุลของสสารจนถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลายร้อยไมครอน * ( micron ) อนุภาคในระดับเล็กมากๆเหล่านี้ หากมีปริมาณไม่มากนัก อาจไม่สามารถสังเกต และมองเห็นได้ โดยจะลอยตัวอยู่ในอากาศได้นาน ซึ่งสามารถเข้าไปในร่างการมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยการหายใจ

ตามหลักวิชาการทางกายภาพ อนุภาคที่อยู่ในรูปของแข็ง ได้แก่ฝุ่น อาจอยู่ในรูปของเส้นใย หรือ ขี้เถ้า และฟูม ( fume ) อาจอยู่ในรูปของควัน โดยที่ฝุ่นมีขานดอนุภาคตั้งแต่ 0.001 ไมครอน ถึง 1 ไมครอน โดยประมาณ ส่วนฟูมนั้น มีขนาดอนุภาคโดยประมาณตั้งแต่ 1 ไมครอน จนถึงหลายร้อยไมครอน

อนุภาคที่อยู่ในรูปของเหลวนั้น ได้แก่ อนุภาคที่อยู่ในรูปของ มิสต์ ( mist ) และสเปรย์ ( spray ) โดยที่มิสต์มีขนาดตั้งแต่ 0.01 ไมครอน ถึง 10 ไมครอน โดยประมาณ ส่วนสเปรย์นั้น มีขนาดอนุภาคโดยประมาณตั้งแต่ 10 ไมครอน จนภึงหลายร้อยไมครอน

ฝุ่น ประกอบด้วย สารที่เป็นของแข็ง ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เช่น การตัด ขัด สี บด ตำ กด อัด หรือกระแทก แล้วฟุ้งกระจายลอยตัวอยู่ในอากาศ และตกลงสู่พื้น หรือถูกลมพัดปลิวไปในอากาศได้อีก ฝุ่นมีรูปร่างไม่แน่นอน โดยทั่วไปแล้ว แบ่งฝุ่นออกเป็น 3 ประเภท โดยอาศัยหลักการที่ฝุ่นสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้เป็นหลัก

  1. ฝุ่นที่มีขานดใหญ่กว่า 10 ไมครอนขึ้นไป ( non-respirable dust ) ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขานดใหญ่เกินกว่าที่จะหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนปลายได้ ส่วนใหญ่จะค้างอยู่ที่ทางเดินส่วนต้น ได้แก่ ขนจมูก หรือ หลอดลม
  2. ฝุ่นที่มีขานดเล็กกว่า 10 ไมครอนลงไป( respirable dust ) ซึ่งเป็นฝุ่นที่หายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนปลายได้ ซึ่งได้แก่ถุงลมปอด
  3. ฝุ่นรวมทุกขนาด ( total dust ) ซึ่งเป็นฝุ่นรวมทั้งที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอนลงไป และที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอนขึ้นไป

จากมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นกล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุ และมีความจำเป็นสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการเก้บตัวอย่างเพื่อตรวจวัดปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนลงไป เพราะเป็นฝุ่นที่สามารถเข้าไปถึงและสะสมอยู่ในถุงลมเล็กๆ (alveoli ) ของปอดได้ เพื่อหาปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นที่มีขนาดเล็กดังกล่าว มาทำการประเมินผลกระทบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วน รวมทั้งป้องกัน และระมัดระวังสุขภาพตนเอง ในเบื้องต้นของภาคประชาชนในหลายจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นดังกล่าว

  • ไมครอน หรือ ไมโครเมตร ( 1 ไมครอน = 10 เมตร)

ที่มา
โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

: สังคม
: บทความ
: สิ่งแวดล้อมดี
พรรณภัทร 11 ม.ค. 2553 12 ม.ค. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย