การออกกำลังกายในช่วงใกล้คลอด หรือช่วงระยะที่สองและระยะที่สามของการตั้งครรภ์นั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับคุณแม่ ทั้งยังดีทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาดริด (Universidad Politécnica de Madrid) ทำการศึกษาหญิงตั้งครรภ์จำนวน 160 คน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 35 ปี ซึ่งทั้งหมดมักจะมีพฤติกรรมที่มักจะอยู่กับที่ หรือชอบนั่งอยู่กับที่มากกว่าการออกกำลัง และทั้งหมดไม่มีปัญหาในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยให้คุณแม่จำนวนครึ่งหนึ่งออกกำลังกายตามความดูแลของแพทย์ พบว่า กลุ่มที่ออกกำลังกายไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ยังคงมีน้ำหนักและขนาดของครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและแข็งแรง
ในขณะที่กลุ่มคุณแม่ที่ชอบนั่งอยู่กับที่ ไม่ค่อยได้ออกกำลังนั้น จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด และเด็กมักจะมีน้ำหนักมากเกินไป
นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า เด็กที่มีน้ำหนักมากเกินไป (มากกว่า 4 กิโลกรัม) อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ในวัยผู้ใหญ่ได้
ข่าวจาก: ScienceDaily