ไข่ดาว เบคอน ฟังดูเหมือนเป็นอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันสำหรับมื้อเช้าในบุคคลทั่วไป แต่สำหรับหญิงตั้งครรภ์มันคืออาหารที่มีประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะจะสามารถช่วยป้องกันการคลอดที่ผิดปกติได้
สารโคลีน (choline) ที่พบได้ในไข่แดง เบคอน ในเครื่องในสัตว์ประเภทไตนั้นมีประโยชน์ในการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ ช่วยให้การเจริญเติบโตของเซลล์เป็นปกติ แม่ที่ได้รับสารโคลีนไม่เพียงพอนั้นจะมีปัญหาทางด้านพัฒนาการสมองของทารก และเสี่ยงต่อการพัฒนาการด้านการเรียนรู้และความจำ
นอกจากนี้ในไข่แดง เบคอน ตับ ไต นม ข้าวกล้อง ผักขม กะหล่ำดอก ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี ซึ่งการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันโรคตับ และลดปริมาณโคเลสเตอรลลงได้
นักโภชนาการกล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับสารโคลีนอย่างเพียงพอจากอาหาร แต่ก็มีบางงานวิจัยที่พบว่าประชากรบางกลุ่มได้รับสารดังกล่าวมาเพียงพอ โดยพบว่าหญิงตั้งครรภ์หนึ่งในสี่มีภาวะขาดสารโคลีน
การศึกษาวิจัยจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนทำการศึกษาในหนู โดยแบ่งหนูที่ตั้งครรภ์เป็นสามกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งขาดสารโคลีน กลุ่มที่สองได้รับสารโคลีนในปริมาณมาตรฐาน และกลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมโคลีน พบว่าหนูกลุ่มที่ขาดสารโคลีนนั้นมีจำนวนเส้นเลือดในสมองน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อพัฒนาการของสมอง
นักวิจัยพบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ชาวอเมริกันร้อยละ 14 เท่านั้นที่ได้รับสารโคลีนในปริมาณที่เพียงพอ และน้อยกว่าร้อยละ 5 ของหญิงตั้งครรภ์อายุระหว่าง 18 – 30 ปี ต้องได้รับโคลีนเสริม โดยหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดสารโคลีนมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการคลอดที่มีปัญหา
ข่าวจาก: MailOnline