อ่าน: 218
Small_font Large_font

ห่างควันบุหรี่ ห่างไกลโรค

หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่หรือแม้แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองจากผู้อื่น มีโอกาสที่ลูกน้อยจะเป็นโรคมะเร็งหลังคลอดได้

การได้รับควันบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อการถูกทำลายของยีนส์ของทารก ซึ่งการถูกทำลายของยีนส์ชนิดนี้พบได้ในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง

ดร.สตีเฟน แกรนท์ (Dr Stephen Grant) และคณะจากมหาวิทยาลัยพิทส์เบิร์กทำการวิจัยทารกที่คลอดโดยหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ โดยทารกเหล่านี้อาจมีโอกาสผ่าเหล่าทางพันธุกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง การรอดชีวิต น้ำหนักตัว ผลการวิจัยยืนยันว่าการที่แม่ได้รับควันบุหรี่ขณะตั้งครรภ์คือสาเหตุของความเสี่ยงของทารกดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากผลงานวิจัยชิ้นก่อน ๆ ที่พบว่า การที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีผลต่อการป่วยของทารกหลังคลอดจนถึงอายุประมาณ 5 ขวบ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

นักวิจัยสรุปว่า ไม่เพียงแต่คุณแม่ควรที่จะต้องหยุดสูบบุหรี่ แต่จะต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การได้รับควันบุหรี่จากบุคคลในครอบครัว หรือที่สาธารณะด้วย

ข่าวจาก: MailOnline


จริญญา 08 ก.ค. 2553 08 ก.ค. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย