ศาสตราจารย์โจนาตาน กริกก์ (Jonathan Grigg) และคณะ แห่งศูนย์โรคเด็กบาร์ทส์ วิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์ลอนดอน (London School of Medicine & Dentistry) ทำการศึกษาพบว่า ความจุปอด (lung capacity) ของเด็กอายุ 8-9 ปีในลอนดอนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ 5%
ขนาดของฝุ่นละออง (particulates / P) ที่เกิดจากรถชนิดต่าง ๆ มีขนาดต่ำกว่า 10 ไมครอน (1 micron / M = ไมครอน = 1/1000 มิลลิเมตร) นิยมเรียกฝุ่นชนิดนี้ว่า PM10 BBC รายงาน
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแลนคาสเทอร์ (Lancaster U) พบว่า เด็ก ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ PM10 มากมีความสูงลดลง
สหราชอาณาจักร (UK) ถูก EU ลงโทษเนื่องจากควบคุมให้มลภาวะ หรือ PM10 ลดลงไม่ได้ตามมาตรฐาน บริเวณที่แย่ที่สุด คือ ทางตะวันออกของลอนดอน
มลภาวะจากฝุ่นละอองในอากาศหรือ PM10 ทำให้เสี่ยงโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด จมูก-ไซนัส (โพรงรอบจมูก) อักเสบ ฯลฯ เพิ่มขึ้น
EU กำหนดให้ PM10 ต่ำกว่า 40 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ศาสตราจารย์บาร์บารา มาเฮอร์ (Barbara Maher) กล่าวว่า เครื่องวัดสภาพอากาศอัตโนมัติวัดที่ความสูง 3 เมตร เพื่อป้องกัน “vandalism” (การทุบทำลายจากพวกมือหรือเท้าอยู่ไม่สุข)
เทคนิคที่นำมาใช้ใหม่คือ การใช้เครื่องตรวจสนามแม่เหล็ก-คลื่นวิทยุ (magnetic response) คล้าย ๆ เครื่องสแกน MRI (เรียกว่า เทคนิค 'MRS’) เน้นตรวจจับโลหะขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยบอกปริมาณ PM10
การวัด PM10 ในอากาศที่ลำปาง-เชียงใหม่เร็ว ๆ นี้ในช่วงหน้าแล้งพบว่า บางช่วงสูงถึง 240 หน่วย ช่วงนี้คนป่วย หายใจกันไม่ค่อยออก แม้แต่คนที่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ก็ป่วย
สาเหตุสำคัญมาจากการเผาขยะ-ใบไม้ ซึ่งทำกันแทบทุกบ้าน แถมยังมีการเผาไร่นา เผาป่าอีกต่างหาก
สถิติที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน คือ มะเร็งปอดพบมากที่สุดที่ลำปางกับเชียงใหม่... เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า มลภาวะไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรุงเทพฯ
การศึกษาจากจีนพบว่า บุหรี่ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของโรคถุงลมโป่งพอง... การใช้เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่านหิน (ใช้มากในจีน อินเดีย และเอเชียใต้) ฟืน ฯลฯ หรือการเผาเชื้อเพลิงแข็งอื่น ๆ เช่น ใบไม้ ขยะ ฯลฯ ก็เพิ่มความเสี่ยงโรคนี้ได้เช่นกัน
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนาน ๆ ครับ
ภาพจาก Flickr.com