การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า สารพฤกษเคมีหรือสารคุณค่าพืชผัก (phytochemicals) ในชาน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง
อ.ดร.คาร์รี รักซ์ทัน (Carrie Ruxton) ทำการทบทวนผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ชามีสารกลุ่มฟลาโวนอยส์ (flavonoids) ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
การศึกษาจากฟินแลนด์พบว่า ผู้ชายที่ดื่มชามากกว่า 2 ถ้วยต่อวันมีความเสี่ยง (= ความน่าจะเป็น) สโตรค (stoke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ลดลง 21%
การศึกษาจากฝรั่งเศสพบว่า ผู้หญิงที่ดื่มชามากกว่า 3 ถ้วยต่อวันมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น โรคหัวใจ ฯลฯ ลดลง 32%
และเมื่อคิดเฉพาะโรคหัวใจแล้ว พบว่า ความเสี่ยงลดลงได้มากจนถึง 70% (มากจนถึง = up to = กรณีมากที่สุดไม่เกินเท่านี้ ส่วนใหญ่จะน้อยกว่านี้ คือ น้อยกว่า 70% และค่าเฉลี่ยมักจะอยู่ในช่วง 1/3–2/3 ของตัวเลขสูงสุด เช่น 1/3–2/3 ของ 70% = 23–47%)
กลไกที่เป็นไปได้คือ สารฟลาโวนอยส์ในชาน่าจะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ หรือการกำเริบของธาตุไฟที่ผนังหลอดเลือด
การอักเสบเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผนังหลอดเลือดบวม ทำงานได้ไม่ดี และอุดตันได้เร็วขึ้น
อ.คาร์รีแนะนำว่า ชาวันละ 3–4 ถ้วยน่าจะกำลังพอดี การดื่มวันละเป็นแกลลอนน่าจะมากเกินไป
ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีคนดื่มมากที่สุด (รองจากการดื่มน้ำเปล่า) คนในอังกฤษ (UK) ดื่มชา 131,150 ตันในปี 2549–2550
คนที่นั่นเกือบ 8 ใน 10 คนดื่มชาเฉลี่ย 2.3 ถ้วยใหญ่ (mugs = ถ้วยขนาดถ้วยกาแฟเย็น) ต่อวัน
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนาน ๆ ครับ
MailOnline รายงานภาพจาก Flickr.com