อ่าน: 376

คำแนะนำการดูแลบาดแผล

ประเภทของบาดแผล

  • แผลสะอาด เช่น แผลมีดบาด แผลผ่าตัด แผลประเภทนี้จะมีโอกาสติดเชื้ออักเสบต่ำ
  • แผลสกปรก เช่น แผลถลอกจากอุบัติเหตุ โดนน้ำสกปรก เปื้อนดินโคลน แผลตะปูตำ แผลกระเบื้อง แก้ว หรือสังกะสีบาด แผลประเภทนี้จะมีโอกาสติดเชื้อสูง รวมถึงอาจเกิดโรคบาดทะยัก

การดูแลแผลเบื้องต้น

  • ถ้าแผลมีเลือดออกมากให้ใช้ผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาดกดบริเวณบาดแผลด้วยมือ หรือพันผ้าให้แน่น และรีบมาพบแพทย์เพื่อห้ามเลือด และทำความสะอาดบาดแผล
  • ถ้าแผลสกปรกเปื้อนดินโคลน ให้รีบล้างเบื้องต้นด้วยน้ำสะอาด เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคก่อนมาพบแพทย์ แพทย์จะทำความสะอาดบาดแผล เย็บปิดแผลหรือเปิดทำแผล ให้รับประทานยาปฏิชีวนะ และฉีดยาป้องกันบาดทะยัก
  • สำหรับบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากทำความสะอาดแล้วควรทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิดีน หรือเบต้าดีน

การดูแลแผลในระยะต่อมา

  1. ควรยกแขนหรือขาที่มีแผลให้สูง เพื่อลดอาการบวมอักเสบ
  2. ระวังไม่ให้แผลสกปรก หรือโดนน้ำ
  3. มาทำแผลตามเวลา และรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ
  4. สังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกมาก ปวดแผลมาก แผลอักเสบบวมแดง เป็นหนอง มีไข้ ให้รีบมาพบแพทย์
  5. การตัดไหม อาจเป็น 5 – 7 วันหลังเย็บแผล ขึ้นกับลักษณะบาดแผล สามารถตัดไหมที่สถานพยาบาลใกล้บ้านได้
  6. ในกรณีแผลอักเสบติดเชื้อ แพทย์จำเป็นต้องตัดไหมออก และทำแผลทุกวันจนกว่าจะดีขึ้น

คำแนะนำทั่วไป

  1. แจ้งประวัติแพ้ยา และโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ให้แพทย์ทราบ
  2. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ไม่มีของแสลง

ข้อมูลจาก:
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ภาควิชาศัลยศาสตร์

: กาย
:
: สุขภาพดี

Share |
จริญญา 11 มี.ค. 2553 12 มี.ค. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย