อ่าน: 663

5 อาหารบำรุงทั่วเรือนร่าง

อาจารย์ ดร.เดวิด แอล.แคทซ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป้องกันโรค มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐฯ กล่าวว่า ถ้าอยากบำรุงไปทั่วเรือนร่าง... แนะนำให้ลองอาหารสูตรบำรุงสุด ๆ นี้ดู เพราะจะทำให้ดีขึ้นไปทั่วเรือนร่างทีเดียว

หลักการพื้นฐานของอาหารที่ดีคือ การกินพอประมาณ (ไม่มากหรือน้อยเกิน) กินให้หลากหลาย ทั้งสีสันและรสชาติ ทั้งธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ โปรตีนชั้นดี เช่น ถั่ว เต้าหู้ ปลา เนื้อไม่ติดมัน (น้อย ๆ หน่อย) ฯลฯ ผัก นมไขมันต่ำ และผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรอง
หรือแยกกาก)


  1. อาหารบำรุงผิวดี – ผมดี

    • อาหารกลุ่มนี้เน้นไปที่สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) และวิตามิน C โดยเฉพาะผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากออก) โปรตีนไขมันต่ำ และไขมันชนิดโอเมกา 3 ซึ่งมีมากในปลาทะเล เช่น ปลากระป๋อง ฯลฯ

    • กินอาหารกลุ่มนี้อย่างเดียวไม่พอ ต้องขอ “หนีแดด” เช่น หลีกเลี่ยงแดดจ้า (9.00 – 16.00 น.) สวมแว่นกันแดด สวมหมวก- เสื้อแขนยาว – กางเกงขายาว กางร่ม ฯลฯ แบบร่วมด้วยช่วยกัน

    • ผลไม้ที่ดีมาก ๆ คงจะเป็นกลุ่ม 'citrus’ หรือตระกูลส้ม – มะนาว มะละกอ ฝรั่ง + ผักผลไม้ที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ หอมแดง ฯลฯ

    • ถ้าอยากให้ร่างกายสร้างคอลลาเจน (collagen) ได้ดีขึ้น... ไม่ควรกินคอลลาเจน เนื่องจากไม่ได้ดีไปกว่าโปรตีนทั่วไป กินแล้วมีคุณค่าทางอาหารเท่าโปรตีนทั่วไป แถมยังมีราคาแพงด้วย แต่ควรกิน อาหารที่ช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนได้มากขึ้นได้แก่ วิตามิน C กับโปรตีน เช่น ถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร, ปลาทะเล ฯลฯ

    • ผมจะดีได้ก็ด้วยอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูงกับแคลเซียม เช่น ไข่ นมไขมันต่ำ ปลาทะเล ฯลฯ

  2. อาหารบำรุงสายตา

    • การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนที่กินปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ลดเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) โรคจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ (age-related macular degeneration / AMD) ซึ่งเป็นสาเหตุโรคตาบอดที่พบบ่อยในคนสูงอายุได้เกือบ 50%

    • อาหารที่ดีกับสายตา คือ มีสารลูทีน – ซีแซนทีน ได้แก่ ไข่แดง ผักใบเขียว บรอคโคลี และอาหารที่มีวิตามิน C,E (มีมากในเมล็ดพืช น้ำมันพืช) สังกะสี (มีมากในอาหารทะเล เมล็ดฟักทอง) เบต้าแคโรทีน (ผักผลไม้สีส้ม – เหลือง เช่น มะกะกอ ฟักทอง แครอท ฯลฯ)
  3. อาหารบำรุงกระดูก

    • อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นมไขมันต่ำหรือนมไม่มีไขมัน ปลาทะเล ถั่วพู ผักใบเขียว กะหล่ำ บรอคโคลี ผักโขม (ปวยเล้ง)

    • นมที่ดีกับกระดูกมากหน่อยควรเป็นนมเสริมวิตามิน D ซึ่งควรกินพร้อมอาหารที่มีไขมันต่ำ เนื่องจากวิตามิน D ละลายในน้ำมัน และจำเป็นต้องใช้น้ำมันเป็นตัวพา หรือตัวทำละลาย จึงจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้

    • ถ้ากินวิตามิน D พร้อมนมไม่มีไขมันโดยไม่มีอาหารที่มีไขมันช่วย จะดูดซึมไม่ได้เลย

    • ส่วนแคลเซียมดูดซึมได้ดีในช่วงที่ทางเดินอาหารมีกรดมากหน่อย คือ กินพร้อมอาหาร

  4. อาหารบำรุงหัวใจ

    • อาหารที่ดีกับหัวใจมากหน่อยคือ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด ผักสด ผลไม้ทั้งผล (น้ำผลไม้ปั่นรวมกากใช้ได้ ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากออก)

    • ผลการทบทวนการศึกษาที่ผ่านมา 7 รายงานพบว่า การกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังเติมรำ (โฮลวีท) ฯลฯ วันละ 2.5 หน่วยบริโภค ลดเสี่ยงโรคหัวใจและสโตรค (stroke = หลอดเลือดสมองแตก – ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) 21%

    • 1 หน่วยบริโภค = เสิร์ฟ = serving = ฝ่ามือผู้ใหญ่ผู้หญิง ไม่รวมนิ้วมือ หรือแผ่น CD หนาประมาณข้อนิ้วก้อยข้อปลาย

    • กลไกที่เป็นไปได้คือ ข้าวกล้องมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง วิตามิน E สูง (มีมากในน้ำมันรำข้าว ผักใบเขียว ถั่วลิสง และน้ำมันพืช) ส่วนผัก – ผลไม้ – ถั่ว – ถั่วเปลือกแข็ง (นัท) มีเส้นใยชนิดละลายน้ำ ซึ่งช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และป้องกันโรคอ้วน

    • อาหารที่ช่วยให้อิ่มนานและต้านอ้วนได้ดี คือ อาหารที่มีเส้นใยชนิดละลายน้ำสูง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต (ใส่ลูกเกด ถั่วลิสงต้มไปหน่อยน่าจะดี) แอปเปิล ส้ม มะเขือเทศ มะละกอ

    • โอเมกา – 3 ในปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ปลากระป๋อง ฯลฯ (ถ้าทอดจะทำให้น้ำมันปลาซึมออกไปในกระทะ น้ำมันที่ใช้ทอดซึมเข้าไปแทน) ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (เป็นก้อนคล้ายเลือดหมูในหลอดเลือด) ทำให้โอกาสเป็นโรคหัวใจลดลง

  5. อาหารบำรุงสมอง

    • อาหารบำรุงสมองมีลักษณะคล้ายอาหารบำรุงหัวใจ คือ หนักไปทางธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ และไขมันชนิดโอเมกา – 3 ได้แก่ ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ปลากระป๋อง ฯลฯ

    • ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราไปทะเล... สั่งปลาทอดมากิน แบบนี้จะได้โอเมกา – 3 น้อย ได้น้ำมันที่ใช้ทอดมาก เนื่องจากน้ำมันปลาซึมออกไปในกระทะ น้ำมันที่ใช้ทอดซึมเข้า(เนื้อปลา)

    • ทีนี้ถ้าเราไปทะเล... สั่งปลานึ่งมากิน แบบนี้จะได้โอเมกา – 3 มาก แต่ถ้ากินปลากระป๋อง (เลือกที่ไม่ผ่านการทอด) แบบนี้จะได้โอเมกา – 3 เพียบเลย

    • การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนสูงอายุที่กินหลากหลาย ทำให้ได้วิตามิน B12 (มีมากในเนื้อไม่ติดมัน ไก่ ปลา และผลิตภัณฑ์จากสัตว์) และโฟเลต (folate, folic acid มีมากในผักผลไม้สด) ครบ

    • วิตามิน B12 มีมากในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ส่วนโฟเลตมีมากในผลิตภัณฑ์จากพืชสด... คนที่กินอาหารครบทุกหมู่ กินทั้งพืชและสัตว์ (วิธีง่าย ๆ คือ ลดเนื้อลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง กินถั่ว ผัก ผลไม้เพิ่ม) มีแนวโน้มจะได้สารอาหารครบถ้วน ทำให้สมรรถภาพสมองดี





  6. ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนาน ๆ ครับ


    CNN รายงาน

    ภาพจาก Flickr.com

: กาย
: ข่าว
: สุขภาพดี
วัลลภ 05 พ.ค. 2552 05 พ.ค. 2552
ความคิดเห็น (1)

ขอบคุณมากคะสำหรับข้อมูลดีๆ
มีเนื้อหาสาระครบถ้วนเลย

สุกัญญา 05 พฤษภาคม 2552 - 11:49 (#108)
« ก่อนหน้า หน้า 1 จาก 1 ถัดไป »
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

Share |
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย