อ่าน: 57

ข้าวไม่ติดก้นหม้อได้อย่างไร

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้น หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับแม่บ้าน หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นความร้อนด้วยแผ่นฮีตเตอร์ ที่ทำจากนิเกล-โครเมี่ยมอัลลอยด์ แล้วหม้อหุงข้าวรู้ได้อย่างไรว่าข้าว
สุก? หม้อหุงข้าวอาศัยเจ้าอุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์โมสตัท ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิของข้าวสูงกว่า 100OC หรืออุณหภูมิน้ำเดือดที่ความดันบรรยากาศ นั้นก็หมายความว่า ตราบใดที่ยังมีน้ำอยู่ในหม้อข้าว อุณหภูมิข้าวก็จะไม่สูงไปกว่า 100 OC แต่ถ้าน้ำแห้งอุณหภูมิก็จะสูงกว่าจุดเดือด เทอร์โมสตัทก็จะทำงานทันที

ที่มา : http://www.mea.or.th/apd/5/main.htm

ปัญหาหนึ่งที่สร้างความยุ่งยากให้แม่บ้านเป็นประจำคือ ข้าวติดก้นหม้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่บ้านที่ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ไม่ได้เคลือบเทฟลอน จะไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ทันทีหลังจากทานอาหารเสร็จ ต้องแช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน แม่บ้านบางรายแก้ปัญหาด้วยการซื้อหม้อหุงข้าวแบบใหม่ที่ทันสมัย แต่สำหรับแม่บ้านที่ต้องทนใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบธรรมดา และไม่อยากเผชิญกับปัญหาข้าวติดก้นหม้อ แก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่ทันทีที่ดึงปลั๊กไฟฟ้าออกให้นำหม้อชั้นในแช่ลงในน้ำเย็นหรือน้ำก๊อกธรรมดานี่เอง ปริมาณน้ำก็พอที่จะให้หม้อจมลงไปสัก 1 นิ้ว ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 นาที เพียงเท่านี้ก็สามารถตักเสริฟได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้าวติดก้นหม้ออีกต่อไป เหมือนมีหม้อเคลือบเทฟลอนประจำบ้าน

หลักการง่ายๆที่ช่วยแก้ปัญหาข้าวติดกันหม้อนี้ได้จากความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของแป้งเมื่อได้รับความร้อนและสูญเสียความร้อน อธิบายด้วยหลักการง่ายๆ ได้ดังนี้ แป้งเมื่อได้รับความร้อนและมีน้ำมากเกินพอก็จะพองตัวเกิดเป็นเจล มีความหนืดสูงเรียกว่าการเกิด เจลาติไนเซชั่น (Gelatinization) แต่เมื่อถูกทำให้เย็นตัวลงแป้งจะเกิดการเรียงตัวใหม่กลับเป็นผลึกและดันเอาน้ำออกจากโครงสร้าง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การเกิด รีโทรกาเดชั่น (Retrogradation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหม้อชั้นในที่ทำจากอลูมิเนียมจะถ่ายเทความร้อนได้ดี ทำให้สามารถเกิดรีโทรกาเดชั่นได้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้น้ำที่ถูกดันออกมาจากโครงสร้างแป้งจะเป็นตัวกั้นระหว่างข้าวกับก้นหม้อ เพียงเท่านี้คุณแม่บ้านก็สามารถประหยัดเงินโดยไม่ต้องซื้อหม้อหุงข้าวใหม่และไม่ต้องเผชิญปัญหาข้าวติดก้นหม้ออีกต่อไป

เอกสารอ้างอิง
1. “หม้อหุงข้าว”. ฉลาดบริโภค. เมษายน, 2528, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 44–46.
2. “หม้อหุงข้าวไฟฟ้า”. หมอชาวบ้าน. กุมภาพันธ์, 2537, ปีที่ 15, ฉบับที่ 178 , หน้า 38 – 39.
3. Rao M. A. and Martel R. W. Phase/state transitions in foods: chemical, structural, and
rheological changes. USA: Marcel Dekker Inc., 1998. (pp.95–110)

ผู้เขียน : นางอัญญาดา ตั้งดวงดี ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ 7 ว และรักษาการหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วศ.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

: สังคม
: บทความ
: มุมมองดี
จริญญา 25 ก.ย. 2552 25 ก.ย. 2552
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
ความคิดเห็น
captcha
 
หรือ ยกเลิก

เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย