เด็ก ๆ ชาวอินเดียอย่างน้อยกว่า 200 คน เสียชีวิตจากโรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis) ในขณะที่กว่า 900 คนกำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ Uttar Pradesh
ยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่ชัดหลังจากที่โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ปี 2521 โดยโรคนี้คร่าชีวิตเด็กชาวอินเดียไปแล้วกว่า 100,000 ราย โดยมียุงเป็นพาหะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เด็กที่มีอายุอยู่ระหว่าง 6 เดือน – 15 ปีจะได้รับผลกระทบจากโรคอย่างมากหากได้รับเชื้อ และประชากรในเขตชนบทคือกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้
สาธารณูปโภคที่ยังไม่ได้มาตรฐานของประเทศอินเดียในเขตชนบท ทำให้โรคไข้สมองอักเสบสามารถแพร่ระบาดได้โดยง่าย เพราะเชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่โดยทั่วไปตามคูคลอง ระบบระบายน้ำ และของเสียต่าง ๆ ซึ่งยุงเป็นพาหะนำเชื้อดังกล่าวติดต่อจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง
นอกจากนี้ภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศอินเดีย ก็เป็นตัวนำพาเชื้อโรคจากพื้นที่ไปยังพื้นที่หนึ่งได้โดยง่าย
หลังจากที่เด็ก ๆ ชาวอินเดียเสียชีวิตด้วยโรคไข้สมองอักเสบประมาณ 1,500 คน ในปี 2548 รัฐบาลอินเดียได้ตื่นตัวในการนำเข้าวัคซีนจากประเทศจีน เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลายครอบครัวในพื้นที่ห่างไกลก็ยังไม่ได้รับวัคซีนดังกล่าว
สำหรับอาการของโรคไข้สมองอักเสบนั้น ได้แก่ อาการไข้สูง อาเจียน อ่อนเพลีย และเฉื่อยชา และจะแพร่ระบาดอย่างมากในช่วงเดือนกรฎาคม – สิงหาคม บริเวณฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย
โชคดีที่ประเทศไทยมีมาตรการให้เด็กแรกเกิดทุกคนต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบแล้ว
ข่าวจาก BBCNEWS