อ่าน: 413

ความดันโลหิตกับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

เมื่อเร็วๆนี้ Telegraph รายงานว่า เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “White coat effect” หรือค่าความดันโลหิตที่วัดโดยแพทย์แล้วจะพบว่ามีค่าความดันโลหิตสูงกว่าการวัดความดันโลหิตที่ในสถานที่อื่นๆ ทำให้ค่าความดันโลหิตดังกล่าวไม่ใช่ค่าที่ถูกต้อง และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปไม่สามารถที่จะใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้

ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไต โรคสมองเสื่อมบางชนิด โรคตา โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต การที่แพทย์ไม่สามารถใช้ค่าความดันโลหิตเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้นั้นจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างยากลำบาก มีรายงานเพิ่มเติมว่านักวิจัยได้ทำการติดตามและบันทึกค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยวัดทุกๆ 15-30 นาที พบว่าค่าความดันโลหิตซึ่งวัดในเวลากลางคืนนั้นจะสามารถนำมาใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ดี

แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะไม่สามารถใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อย่างถูกต้อง แต่หากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายอย่างเพียงพอ และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกตินั้น จะทำให้ความดันโลหิตสูงลดลงได้ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน

ภาพจาก Flickr.com

: กาย
: ข่าว
: สุขภาพดี
อัญชลี 26 พ.ย. 2551 26 พ.ย. 2551
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
ความคิดเห็น
captcha
 
หรือ ยกเลิก

เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย