โรคอัมพฤกษ์ – อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก ตีบ หรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดไหลไปเลี้ยงเซลล์สมองส่วนนั้นจึงตายและขาดความสามารถในการสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหว หรือการทำหน้าที่อื่นๆ เช่น การพูด การกลืน การรับรู้เข้าใจ กระบวนการคิด หรืออารมณ์ ฯลฯ ความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความมากน้อยของเซลล์สมองที่เสียไป
ปัจจัยเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ – อัมพาต
- อายุ อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
- ประวัติครอบครัว อัตราเสี่ยงสูงในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง (เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ น้อง) เป็นอัมพฤกษ์ – อัมพาต ก่อนอายุ 55 ปี
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 มม.ปรอท หรือ มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิต
- โรคหัวใจ
- ไขมันในเลือดสูง
- น้ำหนักตัวเกิน (รอบพุงเกินปกติโดยในเพศชายเกิน 90 ซม. และในเพศหญิงเกิน 80 ซม.)
- การสูบบุหรี่ มากกว่า 1 มวนต่อวัน
- ดื่มสุรา
- เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ – อัมพาต)
การป้องกันอัมพฤกษ์ – อัมพาต ป้องกันได้โดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และใช้หลักการต้านความชรา
- ไม่อ้วน (Healthy weight) โดยการจำกัดแคลอรี่ และควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล ซึ่งให้พลังงานสูง หลีกเลี่ยงผลไม้หวาน ของทอด อาหารมัน
- กินอาหารสุขภาพและมีวิถีสุขภาพ (Healthy diet and lifestyle)
- เพิ่มการกินผักให้ได้วันละ 5 กำมือ (ประมาณครึ่งกิโลกรัม) และผลไม้วันละ 3 กำมือ กินปลา 2 ตัวต่อวัน เนื่องจากทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด มีสารโอเมก้า -3 สูง (สารโอเมก้า 3 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ) ช่วยชะลอความแก่
- กินอาหารไม่ให้อิ่มจนเกินไป
- ออกกำลังกาย 1/2 ชม. ต่อวัน อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- งดสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ กาแฟ
- นอนหลับให้เพียงพอ (ควรเข้านอน 22.00 น. ตื่น 6.00 น. เพื่อให้สมองปลอดโปร่ง)
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ คำนวณง่ายๆ คือ ดื่มน้ำ 30 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ต่อวัน เช่น น้ำหนักตัว 50 กก. ควรดื่มน้ำวันละ 1,500 ซีซี
- หลีกเลี่ยง “สารทุกข์” หรือ “สนิมแก่” (อนุมูลอิสระ) ได้แก่ อาหารให้พลังงานสูง ประเภทแป้ง น้ำตาล โปรตีน ไขมัน แสงแดด ควันรถ เป็นต้น
- เพิ่ม “สารสุข” โดยใช้หลัก เมตตา กรุณา ให้อภัย
3. สุขภาพจิตดี (Healthy mind) โดยการออกกำลังใจ ออกกำลังสมองและอยู่กับปัจจุบัน
ออกกำลังใจ โดยการสร้างข้อมูล สร้างภาพ และสร้างเรื่อง ให้จดจ่อกับงานทีละอย่างไม่ทำพร้อมๆกัน
- ให้ทดลองใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำงาน เช่น คนที่ถนัดขวาให้ฝึกใช้มือซ้ายหวีผม แปรงฟัน ฯลฯ
- ทดลองใช้ประสาทสัมผัสที่ไม่ค่อยใช้
- คุยกับคนอาชีพอื่นๆ
- ออกกำลังสมองโต
- การ “กลอกตา” ฝึกกลอกตาไปทางซ้าย – ตรง – ไปทางขวาจากนั้นฝึกกลอกตาขึ้นบน – ตรง ลงล่าง
- หายใจเข้า – ออก ให้นานขึ้นให้ได้ราว 6 วินาที โดยการหายใจเข้าให้ลึก แล้วกลั้นไว้นับ 1-2-3-4 แล้วผ่อนลมหายใจออกทำ 10 ครั้ง
- หายใจเคี้ยวอาหารให้ช้าลง ประมาณ 15-40 ครั้ง/คำ
- เดินให้ได้วันละ 10,000 ก้าว (ประมาณ -1 ชม.) อาจใช้อุปกรณ์ “เครื่องนับก้าว”
“ป้องกันก่อนเกิดโรค แก่ช้า อายุยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นยอดปรารถนาของทุกคน”
เรียบเรียงโดย น.ส.นิตยา ปัญจมีดิถี พยาบาลวิชาชีพ 7 วช.
กองการแพทย์ เทศบาลภูเก็ต
ใครเกิดมาก็ไม่อยากแก่
ก็ต้องออกกำลังกายมากๆๆน่ะค่ะ
ทำแล้วดีจริงๆๆๆ