อ่าน: 223

โรคเท้าปุก รักษาให้หายได้อย่างไร

“ เด็กที่เป็นเท้าปุก หลังได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะสามารถมีพัฒนาการได้เป็นปกติ
เดินได้โดยไม่เจ็บ และไม่มีปัญหาเรื่องการใส่รองเท้า ”

โรคเท้าปุกเป็นความผิดรูปของเท้าที่พบในเด็ก การรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที จะช่วยให้เด็กมีเท้าที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับเท้าปกติและใช้งานได้ดี โรคเท้าปุกรักษาได้หรือไม่ ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลอย่างไร วิธีรักษาที่ถูกต้องคืออะไร หาคำตอบได้จากบทความข้างล่างนี้

โรคเท้าปุกคืออะไร
เท้าปุก (club foot ) เป็นความผิดรูปของเท้าตั้งแต่กำเนิด โดยมีสันเท้าแขย่งฝ่าเท้าบิเข้าด้านใน สังเกตเวลาเด็กใช้ท้าสัมผัสพื้นจะใช้หลังเท้าแทนส้นเท้าผู้ป่วยร้อยละ50 เป็นเท้าปุกทั้ง2ข้าง

โรคเท้าปุกเกิดจากสาเหตุอะไร
สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด พบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและพัฒนาการของกระดูกข้อเท้า พยาธิบริเวณเท้าปุกมีการยึดตรึงของเส้นเอ็นและมีการเคลื่อนหลุดของข้อต่อบริเวณเท้า

โรคเท้าปุกกับเท้าแปเหมือนกันหรือไม่
เท้าปุกมีลักษณะต่างจากเท้าแปคือ เท้าแป (flat foot) จะแบนราบไม่มีอุ้งเท้าเวลาเด็กใช้เท้าสัมผัสพื้น เด็กยังคงใช้ส้นเท้าสัมผัสแต่ส้นเท้าจะบิดออกทางด้านนอกเด็กที่มีเท้าแปหรือไม่มีอุ้งเท้ามักไม่เกิดปัญหาเหมือนเท้าปุก อย่างไรก็ตาม ถ้ามีข้อสงสัยประการใดควรปรึกษาแพทย์

โรคเท้าปุกถ้าไม่รักษาจะหายเองได้หรือไม่
โรคเท้าปุกจะไม่หายเอง ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา เด็กจะเดินโดยใช้หลังเท้า ทำให้เกิดตาปลาบริเวณหลังเท้า มีปัญหาเรื่องการใส่รองเท้า ถ้าปล่อยไว้ระยะยาวจะทำให้เกิดข้อต่อบริเวณเท้าอักเสบได้

ควรเริ่มรักษาเมื่อไหร่
ควรนำเด็กที่สงสัยมีเท้าปุกมาพบแพทย์โดยเร็วหลังคลอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคและให้การรักษาโดยการดัดเท้าและใส่เฝือก พบว่าถ้าเริ่มรักษาภายในเวลา 3สัปดาห์หลังคลอด โอกาสประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องผ่าตัดมีสูง

แพทย์รักษาเท้าปุกอย่างไร
ปัจจุบันการรักษาเท้าปุกแบ่งได้เป็น 2วิธี ได้แก่ การดัดเท้าและใส่เฝือก แลการผ่าตัด
การดัดเท้าและใส่เฝือก เป็นการยืดเอ็นและผิวหนังรวมทั้งข้อต่อ เพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนกลับคืนสภาพเดิม แพทย์จะใช้วิธีนี้ในเด็กแรกคลอด ถึงอายุประมาณ 1ขวบ แพทย์จะดัดเท้าและใส่เฝือกประมาณ1-2สัปดาห์ ต่อครั้ง
การผ่าตัดรักษา ใช้ในกรณีรูปเท้าไม่คืนกลับหลังทำการดัดเท้าและใส่เฝือกโดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ถึง1ขวบ การผ่าตัดแพทย์จะยืดเอ็นและจัดเรียงข้อต่อให้เข้าที่ หลังผ่าตัดต้องใส่เฝือกดามกระดูกประมาณ 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การผ่าตัดอันตรายหรือไม่?
การผ่าตัดแก้ไขโรคเท้าปุกในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่ำ ก่อนผ่าตัดแพทย์จะประเมินความพร้อมของผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นปวดแผลติดเชื้อ เป็นต้น

หลังผ่าตัดต้องใส่รองเท้าดามหรือไม่
หลังผาตัดแก้ไขเท้าปุก แพทย์จะให้ผู้ป่วยใส่รองท้าดาม (orthopaedic shoe) ซึ่งจะช่วยดามกันการเป็นกลับซ้ำ โดยทั่วไปจะใส่รองเท้าชนิดนี้กระทั่งอายุประมาณ 6-8ขวบ

มีโอกาสเป็นกลับซ้ำหลังผ่าตัดหรือไม่
โอกาสเป็นเท้าปุกซ้ำมีประมาณร้อยละ 10-20 ขึ้นกับความรุนแรงของรอยโรค ระยะเวลาที่เริ่มรักษาและวิธีรักษา ดั้งนั้นผู้ปกครองจึงควรนำผู้ป่วยมาติดตามการรักษาเป็นระยะตามที่แพทย์นัด

ผลการรักษาเป็นอย่างไร
ผลการรักษาเท้าปุกได้ผลดีประมาณร้อยละ 80-90 เด็กที่เป็นเท้าปุกหลังได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะสามารถมีพัฒนาการได้เป็นปกติ เดินได้โดยไม่เจ็บและไม่มีปัญหาเรื่องการใส่รองเท้า อย่างไรก็ตาม เท้าของเด็กเท้าปุกและน่องมักมีขนาดเล็กกว่าปกติ แต่จะไม่มีปัญหาเรื่องการเดิน

ที่มา
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

: กาย
: บทความสุขภาพ
: สุขภาพดี

Share |
พรรณภัทร 06 พ.ค. 2553 06 พ.ค. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย