หญิงสูงวัยที่มีปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูง เสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อนเวลาอันควร เมื่อเทียบกับผู้ที่มีปริมาณสารตะกั่วในเลือดต่ำ Reuters รายงาน
การศึกษาวิจัยผู้หญิงอายุระหว่าง 65 – 87 ปี จำนวน 533 ราย โดยติดตามเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 12 ปี พบว่าผู้ที่มีสารตะกั่วสะสมอยู่ในเลือดมากกว่า 8 ไมโครกรัมต่อเลือดหนึ่งเดซิลิตร จำนวนร้อยละ 59 มีโอกาสเสียชีวิตได้จากหลายสาเหตุ แต่มีโอกาส 3 เท่าที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ
สารตะกั่วคือสารพิษประเภทโลหะหนัก และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพบว่าวีรบุรุษในอดีตผู้ที่ผ่านสมรภูมิการรบได้รับผลกระทบจากปริมาณสารตะกั่วที่สะสมอยู่ในร่างกาย
การสำรวจล่าสุดเมื่อปี 2001 – 2002 ชี้ให้เห็นว่าระดับของสารตะกั่วในเลือดมีปริมาณลดลง เหลือเพียงประมาณ 1.45 ไมโครกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามการสำรวจกลุ่มผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในช่วงปี 1986 – 1998 ซึ่งเป็นยุคที่ยังมีการใช้สารตะกั่วผสมในสี ปนเปื้อนอยู่ในระบบน้ำประปา และน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่าผู้ที่มีปริมาณสารตะกั่วอยู่ในระดับสูงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีปริมาณระดับสารตะกั่วในเลือดต่ำ
แม้ว่าจะมีหลากหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ แต่การสะสมของสารตะกั่วในเลือดในปริมาณมากก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า“ในขณะที่ผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนรุ่นก่อนแล้ว สิ่งสำคัญในขณะนี้คือความตื่นตัวในภัยร้ายจากตะกั่วในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกระตุ้นเตือนและแน่ใจได้ ว่าผลกระทบของสารตะกั่วในขณะนี้จะถูกควบคุมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดต่อสุขภาพของลูกหลานของเราให้อนาคต”
ภาพจาก Flickr.com