...
เด็กที่เกิดมาบนโลกเรามีโอกาสเป็นโรคเด็กหัวบาตร หรือภาวะโพรงน้ำในสมองโต (hydrocephalus) ประมาณ 1 ใน 1,000 ของการเกิดมีชีพ (live births = คลอดแล้วมีชีวิต ไม่ตายทันที) > [ BBC ], [ Neurologychannel ]
การรักษาโรคนี้ใช้วิธีต่อท่อระบายน้ำจากโพรงน้ำในสมองไปยังหัวใจ หรือช่องท้อง ปัญหาที่พบบ่อยจากการทำ “ท่อระบายน้ำ (shunt)” นี้คือ ท่อมักจะอุดตัน หรือติดเชื้อได้บ่อย ทำให้ต้องผ่าตัดเปลี่ยนท่อหลายครั้ง
...
ท่านอาจารย์จาลีล มิลาน และคณะจากมหาวิทยาลัยแมนเชนเทอร์ และแลนคาสเทอร์ อักฤษ ทำการศึกษาในหนูทดลองพบว่า การให้โฟเลต (folates) ซึ่งเป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่งมีส่วนช่วยลดโรคเด็กหัวบาตร หรือภาวะโพรงน้ำในสมองโต (hydrocephalus)
น้ำเลี้ยงสมอง-ไขสันหลัง (CSF) ทำหน้าที่หลายอย่างได้แก่ เป็นเบาะ (cushions) ป้องกันแรงกระแทกต่อสมอง (คล้ายๆ ถุงลมหรือ 'air bag’ ในรถยนต์ราคาแพง) ทำหน้าที่ลำเลียงสารเคมีที่ช่วยการทำงานของสมอง
...
การไหลเวียนและแรงดันที่พอเหมาะของน้ำเลี้ยงสมอง-ไขสันหลังช่วยให้สมองมีพัฒนาการที่ดี
ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ (ท้อง) อาจได้รับคำแนะนำให้กินกรดโฟลิค (folic acid) ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์ เพื่อป้องกันความผิดปกติของกระดูกสันหลัง (spina bifida) และสมอง เช่น ภาวะสมองใหญ่หายไป (anencephaly) ฯลฯ
...
โฟเลตเป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่ง มีมากในตับ (ไม่ควรกินตับมาก หรือกินเป็นประจำ เพื่อป้องกันการได้รับวิตามิน A หรือโคเลสเตอรอลมากเกิน) ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง ปวยเล้ง ไข่ เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ ส้ม และผักผลไม้สดๆ > [ WHfoods ] & [ Osu.edu ]
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป ทว่า... การกินอาหารให้ครบทุกหมู่พอประมาณ โดยเฉพาะการกินผักผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ให้มากพอเป็นประจำน่าจะส่งผลดีกับสุขภาพในระยะยาว
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
ที่มา
...
Thank BBC > 'Vitamin’ for baby brain disorder > [ Click ] > 22 March 2009. / Source > J Neuropathology and Experimental Neurology.
Thank Children’s Healthcare of Atlanta > Hydrocephalus > [ Chao.org ]
Thank Awoko.org > Pikin Bizness hydrocephalus child slim hopes for Francis > [ Awoko.org ]
ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง.
ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 24 มีนาคม 2552.