มนุษย์ถูกกล่าวหาเสมอว่าเป็นผู้ทำให้แมมมอทขนยาวสูญพันธุ์
แต่ถึงแม้ว่าคนล่าสัตว์เพื่อผิวและเนื้อของมัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันอาจจะจริงที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสูญพันธุ์ของแมมมอทขนยาว
21,000 ปีที่แล้วหลังจากยุคน้ำแข็ง (Ice Age) อุณหภูมิที่อุ่นนำไปสู่การสูญเสียทุ่งหญ้าจำนวนมากบนผิวโลก
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเดอร์แฮม (Durham University) การลดลงของที่ราบทุ่งหญ้าและการกระจายของป่าได้คุกคามถิ่นที่อยู่ของพวกมัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้การอยู่รอดเป็นไปไม่ได้สำหรับสัตว์ใหญ่ที่แทะเล็มพืช
ศาสตราจารย์เบรียน ฮันเทรย์ (Brian Huntley) กล่าวว่า แมมมอทขนยาวอาศัยอยู่ทางเหนือของไซบีเรีย 14,000 ปีมาแล้ว จากนั้นพวกมันอพยพและหาอาหารไปจนถึงยุโรปรวมถึงสหราชอาณาจักรเมื่อกว่า 100,000 ปีก่อน
จากฟอสซิลขนาดมหึมาที่พวกมันถูกล่าโดยมนุษย์ แต่พวกมันจไม่สามารถถูกฆ่าได้ง่ายๆเพราะขนาดของ
งานวิจัยของเขาพุ่งเป้าไปที่สภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิสูงขึ้น
แรดขนยาว สิงโตถ้ำ กวางยักษ์และหมีถ้ำไม่สามารถอยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
แมมมอทขนยาวเริ่มหาอาหารได้ยากขึ้น ดร.ฮันเทรย์ กล่าวว่า “เราเชื่อว่าการสูญหายของอาหารจากทุ่งหญ้าเป็นปัจจัยสนับสนุนการสูญพันธุ์
ข่าวจาก Mailonline