อ่าน: 2706
Betamethasone, Gentamicin, Tolnaftate and Clioquinol (Topical) (ยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง)
ยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนังประกอบด้วย
- เบทาเมทาโซน (betamethasone) เป็นยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า สเตอรอยด์ หรือ สเตียรอยด์ มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและการแพ้เช่น อาการระคายเคือง บวม แดง คัน
- เจนทาไมซิน (gentamicin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโค ไซด์(aminoglycosides) ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย
- โทลแนฟเทต (tolnaftate) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
- ไคลโอควินอล (clioquinol) หรือเรียกอีกชื่อว่า ไอโอโดคลอร์ไฮดรอกซีคลอโรควิน(iodochlorhydroxyquin) มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย
ยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง ใช้ในการบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังที่ไวในการตอบสนองต่อคอร์ติโคสเตอรอยด์เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และ/หรือเชื้อราที่มีความไวต่อส่วนประกอบของยาชนิดนี้ เช่น
- โรคผิวหนังบริเวณขาหนีบ (inguinal dermatitis)
- ผิวหนังอักเสบแบบเอ็คซีม่า (eczematoid dermatitis)
- ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสสารที่ระคายเคือง (contact dermatitis)
- โรคผิวหนังอักเสบที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราร่วมด้วย
- โรคผิวหนังอักเสบที่มีภาวะต่อมไขมันสร้างไขมันมากผิดปกติร่วมด้วย (seborrheic dermatitis)
- โรคผิวหนังอักเสบที่รูขุมขน (follicular dermatitis)
- โรคผิวหนังที่มีความผิดปกติของชั้นหนังกำพร้า (parakeratosis)
- ผิวหนังอักเสบแบบเอ็คซีม่าที่มีภาวะต่อมไขมันสร้างไขมันมากผิดปกติร่วมด้วย (seborrheic eczema)
- โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการเสียดสีหรือถูกัน (intertrigo)
- โรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพอง (impetigo)
- โรคผิวหนังบริเวณขาหนีบที่เกิดจากเชื้อราที่ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นหนาขึ้น (lichentified inguinaldermatophytosis)
- โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อกลากที่มีการอักเสบร่วมด้วย เช่น กลากที่เท้า อวัยวะเพศ และกลากบริเวณลำตัว
ยาที่มีจำหน่าย ได้แก่
- ยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดครีม (betamethasone, gentamicin, tolnaftate and clioquinol cream)
โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใด ๆ หรือมีประวัติการแพ้เบทาเมทาโซน (betamethasone ) หรือเจนทาไมซิน (gentamicin) หรือโทลแนฟเทต ( tolnaftate ) หรือ ไคลโอควินอล (clioquinol ) หรือ ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) หรือยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycosides) ตัวอื่น หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยานี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่น ๆ เช่น อาหาร, สารกันเสีย, สี เป็นต้น
ท่านสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติเว้นแต่ว่าแพทย์ได้แจ้งท่านเป็นอย่างอื่น
ABCDX
รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'C' สำหรับสตรีมีครรภ์
จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีรายงานการศึกษาที่ควบคุมอย่างดีในมนุษย์ หรือ ไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์และสัตว์ถึงผลของยาต่อตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ดังนั้น ควรใช้ยานี้เมื่อมีการประเมินแล้วว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์
- เนื่องจากยังไม่มีการยืนยันถึงความปลอดภัยของการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ทางผิวหนัง (topical corticosteroids) ในสตรีมีครรภ์ จึงไม่ควรใช้ยาประเภทนี้เป็นจำนวนมาก หรือเป็นเวลานานในสตรีมีครรภ์
- มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่แสดงถึงผลที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้เจนทาไมซิน (gentamicin) ชนิดใช้ภายนอกในสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม เจนทาไมซินซึ่งอยู่ในเลือดมารดาสามารถผ่านรกได้ และอาจก่อให้เกิดพิษต่อตัวอ่อนได้
- สำหรับยาโทลแนฟเทต ( tolnaftate ) และไคลโอควินอล (clioquinol) นั้นยังไม่มีข้อมูลว่าอยู่ในประเภทใดของการจัดกลุ่มยาที่มีผลต่อสตรีมีครรภ์ (pregnancy category)
ไม่พบว่ายาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง (betamethasone, gentamicin, tolnaftate and clioquinol topical preparations) ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกที่ได้รับน้ำนมมารดา อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้และไม่ควรทายาบริเวณเต้านมในระหว่างที่ให้นมบุตร
- ผู้ป่วยเด็กอาจมีความไวต่อการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ทางผิวหนัง (topical corticosteroid) ซึ่งรวมถึงการเหนี่ยวนำให้เกิดการกดการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenal axis suppression) มากกว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากในเด็กการดูดซึมตัวยามีมากกว่า เพราะมีอัตราส่วนของพื้นที่ผิวหนังต่อน้ำหนักตัวมากกว่า พบรายงานการกดการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ต่อมหมวกไต, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นช้า และความดันสูงในกะโหลกศีรษะในเด็กที่ได้รับคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางผิวหนัง
ยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง (betamethasone, gentamicin, tolnaftate and clioquinol topical preparations) สามารถใช้ได้ในผู้สูงอายุ แต่ควรระมัดระวังการใช้ในกรณีที่มีภาวะการทำงานของไตลดลง และกรณีที่อาจมีการดูดซึมเจนทาไมซิน(gentamicin)
ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่น ๆ ที่จำเป็น โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังใช้ยาที่ทาบริเวณเดียวกันกับยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง (betamethasone, gentamicin, tolnaftate and clioquinol topical preparations)
ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน, โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง (betamethasone, gentamicin, tolnaftate and clioquinol topical preparations)
ท่านควรแจ้งแพทย์หากท่านมีภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น
- เบาหวาน
- โรคไต
- วัณโรค
- ต้อหิน
- ไทรอยด์
- แผลติดเชื้อไวรัส เช่น เริม อีสุกอีใส
- ภาวะที่ผิวหนังบางจนเกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย เนื่องจากการใช้ยาอาจทำให้มีอาการเลวลง
การใช้ยารูปแบบครีม (cream)
- ก่อนใช้ยาควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทาให้สะอาด
- ทายาบาง ๆ ให้ทั่วบริเวณ
- สำหรับบริเวณที่รักษายาก เช่น ผิวหนังเป็นแผ่นหนาบริเวณข้อศอก หรือหัวเข่า อาจใช้พลาสติกฟิล์มปิดคลุมแผลในตอนกลางคืน หลังจากอาการดีขึ้นแล้วให้ทายาต่อ โดยไม่ต้องปิดคลุมแผลอีก
- ไม่ควรทายาบริเวณขาหนีบ รักแร้ ใบหน้า หรือบริเวณอื่นที่มีผิวบอบบาง เว้นแต่ว่าแพทย์สั่ง
- ห้ามใช้ป้ายตา
- ควรระมัดระวังไม่ให้ยานี้เข้าไปในตา จมูก ปากหรือเยื่อเมือกอื่น ๆ
- ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 7 วัน หากมิได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ขนาดยาของยาสูตรผสมเบทาเมทาโซน, เจนทาไมซิน โทลแนฟเทต และไคลโอควินอล ชนิดใช้กับผิวหนัง (betamethasone, gentamicin, tolnaftate and clioquinol topical preparations) อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรหรือตามที่ฉลากระบุ
จำนวนครั้งของการใช้ยาในแต่ละวัน, ระยะห่างของการทายาในแต่ละครั้ง, ระยะเวลาที่ใช้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
หากท่านลืมทายาให้รีบทาทันทีที่นึกได้ อย่างไรก็ตามหากใกล้ถึงการทายาครั้งต่อไป ให้ทายาครั้งต่อไปได้เลย
- เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
- เก็บให้ห่างจากความร้อนและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง
- ห้ามใช้ยาหลังวันสิ้นอายุของยาที่แสดงไว้บนฉลาก หากไม่ระบุเป็นอย่างอื่น วันสิ้นอายุของยา หมายถึง วันสุดท้ายของเดือนที่แสดงบนฉลาก
หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 7 วันหรืออาการยิ่งแย่ลงกว่าเดิม ควรกลับไปพบแพทย์
- ก่อนใช้ยาที่มีส่วนผสมของเจนทาไมซิน (gentamicin) ควรแน่ใจก่อนว่าผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติแพ้ยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycosides) และควรสังเกตอาการแพ้ยาอย่างใกล้ชิดถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ยาดังกล่าวและ ได้รับยาเจนทาไมซินเพราะมีโอกาสเกิดการแพ้ข้ามกันได้
- ไม่ควรใช้ยานี้ในปริมาณมากเกินไป หรือใช้ในระยะเวลานานกว่าที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีผิวหนังบาง เช่น หน้า รักแร้ หรือ ขาหนีบ เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังยิ่งบางลง และเพิ่มการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก เนื่องจากอาจมีผลกดการทำงานของต่อมหมวกไต แม้ว่าจะไม่ได้ปิดคลุมแผลก็ตาม
- หากต้องทายาบริเวณเปลือกตา ต้องระมัดระวังไม่ให้ยาเข้าตา เพราะอาจทำให้เกิดต้อหินได้
- หากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรายังไม่ดี หรือขยายกว้างขึ้นให้หยุดยา
- การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราอาจขยายกว้างขึ้นโดยไม่สามารถทราบได้ เนื่องจากผลของยาเบทาเมทาโซน (betamethasone) บดบังอาการไว้
- การใช้ยาปฏิชีวะชนิดใช้กับผิวหนังเป็นระยะเวลานานในบางกรณีอาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ตอบสนองต่อยาได้ ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น หรือมีการติดเชื้อซ้ำซ้อนเกิดขึ้น ควรหยุดใช้ยา และไปพบแพทย์
- การดูดซึมยาไคลโอควินอล (clioquinol) เข้าสูร่างกายอาจมีผลรบกวนการตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้
- หากมีตัวยาไคลโอควินอล (clioquinol)ในปัสสาวะ อาจเกิดผลบวกปลอม (false-positive) ในการทดสอบฟีนิลคีโตนในปัสสาวะ (phenylketouria) โดยใช้เฟอร์ริกคลอไรด์ (ferric chloride) ก่อนที่ท่านจะรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ทุกครั้งว่าท่านกำลังใช้ยานี้อยู่
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอ้อม หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีขนาดเล็กเกินไป หากต้องทายาบริเวณก้น เนื่องจากอาจเพิ่มการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย และเกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมาได้
- การใช้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) ในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดเซลล์ผิวหนังฝ่อเฉพาะที่ เช่น ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกลาย และมีการขยายตัวของหลอดเลือดใกล้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปิดคลุมแผลหรือบริเวณซอกพับของผิวหนัง
- มีรายงานการเกิดผิวหนังไหม้ คัน การเปลี่ยนแปลงของสีผิว การเกิดภาวะขนดก และผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส (contact dermatitis) เมื่อใช้ยาทากลุ่มสเตอรอยด์
- การรักษาโรคเรื้อนกวางด้วยยากลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) อาจทำให้เกิดตุ่มหนองของโรคได้ แต่พบได้น้อย
- การดูดซึมยาเบทาเมทาโซน ชนิดใช้กับผิวหนัง (topical betamethasone) เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดภาวะกดการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenal axis suppression) ซึ่งอาจแสดงออกโดยกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) ทำให้มีความผิดปกติหลายอย่าง เช่น บวมน้ำ น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว หน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีโหนกตรงต้นคอ, น้ำตาลในเลือดสูง และมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ (glucosuria)
- อาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น พิษต่อไต เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับยาเจนทาไมซิน(gentamicin) รูปแบบฉีด แต่หากใช้ยาทาแผลที่มีขนาดใหญ่ หรือทาในบริเวณกว้าง การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือใช้เมื่อผิวหนังมีบาดแผล อาการข้างเคียงเหล่านี้อาจจะเกิดได้
ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ไม่ต้องการ ถึงแม้ว่าอาการไม่พึงประสงค์ต่อไปนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด แต่หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. พบแพทย์โดยเร็วหากมีอาการต่อไปนี้
พบไม่บ่อย
- ตุ่มพุพองมีเลือดภายใน
- แสบร้อน และคันผิวหนัง
- แผลหายช้า
- รูขุมขนอักเสบ
- ผิวหนังติดเชื้อง่าย
- ผิวหนังบาง มีจ้ำเลือด
พบน้อย
ข. อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นหากใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือใช้ยาเป็นระยะเวลานาน
พบน้อย
- สิว หรือหน้ามัน
- ตาพร่า หรือปวดตา หากใช้ทาใกล้ดวงตา
- ความดันโลหิตสูง
- ประจำเดือนมาผิดปกติ
- ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
- หน้ากลม
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักขึ้น หรือลดอย่างรวดเร็ว
- ผิวหนังแตกลาย
- ขนดก
ค. อาการข้างเคียงอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปในระหว่างการรักษาหรือหยุดยาไปแล้วเนื่องจากร่างกายจะปรับตัว เข้ากับยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถ้าอาการข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันนาน หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของท่าน
พบไม่บ่อย
พบน้อย
**ง. อาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย **หากท่านสังเกตเห็นอาการข้างเคียงอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ห้ามใช้ยาในผู้ที่เป็นโรคหัดกุหลาบ (rosacea)
- ห้ามใช้ในโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น เริม อีสุกอีใส
- ห้ามใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีการติดเชื้อแบบปฐมภูมิ (primary infection) จากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา การติดเชื้อทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิเนื่องจากยีสต์ การติดเชื้อแบบทุติยภูมิจากเชื้อ**_สูโดโมแนส (Pseudomonas)_** และ โปรเตียส(Proteus)
หมายเหตุ: การติดเชื้อแบบปฐมภูมิหมายถึงการติดเชื้อนั้นตั้งแต่เริ่มแรกโดยไม่ได้สืบเนื่องจากการติดเชื้ออื่นมาก่อน ส่วนการติดเชื้อแบบทุติยภูมิหมายถึงการติดเชื้อแทรกซ้อนที่สืบเนื่องจากมีการติดเชื้ออื่นมาก่อนแล้ว
ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาต่อไปนี้
ยานี้เกี่ยวข้องกับยาต่อไปนี้
Betamethasone and Clioquinol (Topical), Chloramphenicol , Chloramphenicol (Ophthalmic) , Chloramphenicol (Otic), Chloramphenicol (Topical), Clindamycin (Oral), Clindamycin (Topical), Clioquinol (Topical) , Dexamethasone and Chloramphenicol (Ophthalmic) , Dexamethasone, Chloramphenicol and Tetrahydrozoline (Ophthalmic), Dexamethasone, Framycetin and Gramicidin (Ophthalmic), Dexamethasone, Framycetin and Gramicidin (Otic), Dexamethasone, Neomycin and Polymyxin B (Ophthalmic) , Fludrocortisone, Neomycin, Furaltadone, Polymyxin B, and Lidocaine (Otic), Hydrocortisone and Chloramphenicol (Topical) , Linezolid , Metronidazole (Oral), Metronidazole (Topical), Metronidazole (Vaginal), Neomycin, Clioquinol, and Bacitracin (Topical) , Nitrofurantoin, Oxytetracycline and Polymyxin B (Ophthalmic), Oxytetracycline and Polymyxin B (Topical), Prednisolone and Chloramphenicol (Topical) , Prednisolone and Nitrofurazone (Topical) , Prednisolone, Chloramphenicol and Naphazoline (Ophthalmic) , Prednisolone, Nitrofurazone and Lidocaine (Topical) , Trimethoprim, Betamethasone and Gentamicin (Topical) , Betamethasone and Neomycin (Ophthalmic) , Betamethasone and Neomycin (Otic) , Betamethasone and Neomycin (Topical) , Desoximetasone, Framycetin and Gramicidin (Topical) , Dexamethasone and Gentamicin (Ophthalmic) , Dexamethasone and Gentamicin (Otic) , Dexamethasone and Neomycin (Ophthalmic) , Dexamethasone and Neomycin (Otic) , Dexamethasone and Neomycin (Topical) , Dexamethasone and Tobramycin (Ophthalmic) , Fluocinolone acetonide and Gentamicin (Topical) , Fluocinolone acetonide and Neomycin (Topical) , Gentamicin (Ophthalmic) , Gentamicin (Otic), Gentamicin (Topical) , Hydrocortisone and Neomycin (Ophthalmic) , Hydrocortisone and Neomycin (Topical) , Neomycin (Oral) , Neomycin and Bacitracin (Topical) , Neomycin, Polymyxin B, and Bacitracin (Topical) , Neomycin, Polymyxin B, and Gramicidin (Ophthalmic) , Prednisolone and Gentamicin (Otic) , Prednisolone and Neomycin (Ophthalmic) , Prednisolone and Neomycin (Otic) , Prednisolone and Neomycin (Topical) , Tobramycin (Ophthalmic) , Triamcinolone acetonide, Neomycin, Gramicidin and Nystatin (Topical), Amcinonide (Topical) , Betamethasone (Topical) , Betamethasone and Calcipotriol (Topical) , Betamethasone and Clotrimazole (Topical) , Betamethasone and Fusidic acid (Topical) , Betamethasone and Miconazole (Topical) , Betamethasone and Salicylic acid (Topical) , Betamethasone and Tolnaftate (Topical) , Clobetasol propionate (Topical) , Desoximetasone (Topical) , Fluocinolone acetonide (Topical) , Hydrocortisone (Topical) , Hydrocortisone and Clotrimazole (Topical) , Hydrocortisone and Fusidic acid (Topical) , Hydrocortisone and Mepyramine (Topical) , Hydrocortisone and Miconazole (Topical) , Isoconazole and Diflucortolone (Topical) , Mometasone furoate (Topical) , Prednicarbate (Topical) , Prednisolone (Topical) , Triamcinolone acetonide (Topical) , Triamcinolone acetonide and Econazole (Topical) , Triamcinolone acetonide and Miconazole (Topical)
ยานี้มีชื่อทางการค้าต่อไปนี้
Betaderm-quad cream (เบต้าเดอร์ม-คว้อด ครีม), Quadriderm(cream) (ควอดริเดิร์ม ครีม), Phoebus cream (พีบัส ครีม), Dertec cream (เดอร์เทค ครีม), Seto-derm cream (ซีโต้-เดิร์ม ครีม), Spectroderm cream (สเปคโตรเดิร์ม ครีม), Quadriderm* cream (ควอดริเดิร์ม ครีม), Dermaheu cream (เดอมาฮิว ครีม)
ข้อมูลนี้ไม่สมบูรณ์ ยานี้อาจจะยังมีชื่อทางการค้าอื่นที่ไม่ได้แสดงในนี้ หรือชื่อทางการค้าที่แสดงในนี้อาจจะไม่อนุญาตให้จำหน่ายแล้ว
- กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นทะเบียนยาสามัญสำหรับยาเดี่ยว.Betamethasone. Available at: http://wwwapp1.fda.moph.go.th/ed2547/?url=14 Access Date: Oct 12, 2010.
- Dailymed current medication information . betamethasone . Available at: http://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/search.cfm?startswith=betamethasone&x=0&y=0 Date: Oct 12, 2010.
- DRUGDEX® System: Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System (electronic version). Thomson Micromedex, Greenwood Village, Colorado, USA. Available at: http://www.thomsonhc.com (cited: 28/10/2010).
- MedlinePlus Trusted Health Information for You. Corticosteroids Medium to Very High Potency (Topical) Available at http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/drug_Aa.html. Access Date: March 17, 2005.
- The electronic Medicines Compendium (eMC) .Betnovate-N. Available at: http://www.medicines.org.uk/EMC/medicine/21763/SPC/Betnovate-N+Cream+%28Chemidex+Pharma+Ltd%29/ . Access Date: Oct 14, 2010.