สเตฟานี่ ออร์ทิกัว จากมหาวิทยาลัย Syracuse กล่าวว่า “การตกหลุมรักไม่เพียงแต่จะทำให้เรารู้สึกมีความสุข แต่มันยังผลสั่งการไปยังสมองด้วย โดยเราสามารถตกหลุมรักใครสักคนได้ในเวลาเพียง 1 ใน 5 วินาที”
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมื่อเราตกหลุมรัก สมองจะปลดปล่อยสารเคมี เช่น เช่น dopamine adrenaline oxytocin และ vasopression ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกสบาย และมีความสุข
ความรู้สึกนี้ ยังมีผลไปควบคุมการทำงานเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เช่น การอุปมา การจินตนาการภาพต่าง ๆ เป็นต้น
ถ้าเช่นนั้น อาการตกหลุมรัก เกิดจากการสั่งการของสมอง หรือ หัวใจ ?
สเตฟานี่ กล่าวว่า “สมองและหัวใจมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะ การตกหลุมรักเกิดจากการสั่งงานของหัวใจ ไปยังสมอง และสั่งการจากสมองกลับมายังหัวใจ ซึ่งเป็นการทำงานี่ควบคู่กัน”
“บางครั้งอาการบางอย่างเรารู้สึกว่ามาจากหัวใจ แต่บางครั้งก็รู้สึกว่ามาจากสมอง”
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังพบว่า ในคู่ที่เพิ่งมีการตกหลุมรักมีระดับเลือดของปัจจัยที่ช่วยให้มีการสร้างหรือมีการเติบโตของระบบประสาท (nerve growth factor, NGF) สูง ซึ่งเป็นการทำงานของโมเลกุลทางเคมีที่ซับซ้อนในร่างกายของเรา เรียกอาการนี้ว่า “รักแรกพบ”
การค้นพบนี้มีความสำคัญในการหาวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเครียดและหดหู่ โดยหาส่วนของสมองที่สามารถกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหลงรักนั่นเอง
ข่าวจาก zeenews