ถึงแม้ว่าภายในสมองของมนุษย์จะมีพื้นที่สำหรับเก็บหน่วยความจำต่าง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถที่จะจดจำรายละเอียดเฉพาะต่าง ๆ ได้ สมองของเราเลือกที่จะลืมในส่วนที่มีรายละเอียดเหมือนกับความทรงจำเก่า และเรามักจะจำในส่วนที่เป็นเหตุการณ์หรือข้อมูล
นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองโดยแสดงภาพจำนวน 2,800 ภาพให้กับกลุ่มอาสาสมัครดู โดยภาพเหล่านั้นเป็นภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพขนมปังปิ้ง ภาพกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น หลังจากนั้นก็ให้ดูภาพที่เป็นคู่กัน โดยให้กลุ่มตัวอย่างบอกว่าภาพใดเป็นภาพคู่กับภาพที่ได้ชมไปแล้ว มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนร้อยละ 78 ตอบได้ถูกต้อง แต่เมื่อถามลึกลงไปถึงรายละเอียด เช่น เห็นภาพที่มีขนมปังโรยด้วยเมล็ดงาดำหรือไม่ มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 64 เท่านั้นที่ตอบคำถามในเชิงรายละเอียดได้
แม้ว่าการลืมจะเป็นสิ่งที่สร้างความยุ่งยากให้กับเรา แต่บางครั้งการเรียนรู้ที่จะลืมก็เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อสามปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในหนูที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรมทำให้ไม่สามารถที่จะสร้างเซลล์ประสาทใหม่ขึ้นได้ สมองของหนูที่ไดรับการตัดต่อทางพันธุกรรมมีประสิทธิภาพการทำงานในเรื่องความจำดีกว่าหนูปกติทั่วไป เพราะการทำงานของความทรงจำ เมื่อมีความทรงจำขึ้นใหม่ เซลล์ประสาทก็จะถูกสร้างความเชื่อมโยงขึ้นใหม่ แต่หนูที่ถูกตัดต่อทางพันธุกรรมไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทขึ้นใหม่ได้ มันก็ต้องใช้เซลล์ประสาทเดิมเพื่อจดจำเหตุการณ์ใหม่
หนูเหล่านี้ก็จะสามารถจดจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ เช่นจำได้ว่าเพิ่งพบอาหารอยู่ที่ใด แต่มันจะลืมไปว่าที่ที่อาหารเคยหายไปนั้นอยู่ที่ใด
การลืมช่วยให้เรายิ่งจำ
ข่าวจาก: SCIENTIFICAMERICAN