ข่าวดีสำหรับนักเรียน นักศึกษา เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการช่วยรักษาความจำไว้ ขณะที่หลับสนิท
นักวิทยาศาสตร์จาก ภาควิชาระบบประสาทต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrinology) มหาวิทยาลัยลูเบิร์ค(the University of Lubeck) ในประเทศเยอรมัน ได้ค้นพบ โมเลกุลอินเตอร์ลูคินซิก(interleukin-6) ในร่างกาย ที่สามารถช่วยรักษาความทรงจำไว้ได้ขณะที่หลับ
เพื่อเป็นการยืนยัน นักวิจัยจึงได้ให้อาสาสมัครวัยรุ่นจำนวน 17 คน เข้ามาใช้เวลา 2 คืนในห้องทดลอง โดยในแต่ละคืน พวกเขาต้องอ่านเรื่องสั้นแนวสะเทือนอารมณ์ หรือ เรื่องสั้นแนวสยองขวัญ แล้วก่อนเข้านอน นักวิจัยก็พ่นสาร อินเตอร์ลูคินซิก และ สารเลียนแบบ เข้าไปทางจมูกให้กับอาสาสมัคร และนักวิจัยยังได้ทำการตรวจจับการทำงานของสมองขณะหลับอีกด้วย และในวันรุ่งขึ้น อาสาสมัครต้องเขียนเรื่องราวที่อ่านมาทั้งสองคืนให้ได้มากที่สุด และผลปรากฏว่า อาสาสมัครที่ได้รับสารอินเตอร์ลูคินซิก สามารถเขียนได้มากกกว่า และไม่มีผลข้างเคียงต่อกระบวนการรับรู้แต่อย่างใด
ที่มา sciencedaily