...
ท่านศาสตราจารย์ดอกเตอร์ริชาร์ด พี. สโลน ผู้เชี่ยวชาญสาขาพฤติกรรมการแพทย์ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่อายุน้อยสุขภาพดี อายุ 20-39 ปี จำนวน 149 คน
การศึกษานี้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มหนึ่งให้ออกกำลังแบบ “แอโรบิค (aerobic exercise เช่น วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ จักรยาน ฯลฯ) อีกกลุ่มหนึ่งออกกำลังต้านแรง (strength training) เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ฯลฯ ติดตามไป 12 สัปดาห์
...
การศึกษานี้ทำการวัดผลการทำงานของหัวใจก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้หยุดออกกำลัง 4 สัปดาห์ เพื่อดูว่า ผลดีต่อหัวใจเป็นแบบถาวร หรือเป็นแบบชั่วคราว
ผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังแบบแอโรบิคทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจทำงานได้ดีขึ้นได้แก่ ชีพจรขณะพัก (resting heart rate) ช้าลง การปรับตัวของชีพจรในการตอบสนองการออกกำลังหนักขึ้น (speed up) และช่วงอุ่นเครื่องเบาลง (slow down) ดีขึ้นในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย
...
ผลดีต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจนี้ไม่ได้ดีขึ้นแบบถาวร ทว่า... ดีขึ้นไม่เกิน 4 สัปดาห์
การศึกษานี้ไม่พบผลดีชนิดนี้จากการออกกำลังต้านแรง (เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ) และไม่พบผลนี้ในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง
...
อาจารย์สโลนกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงในการศึกษานี้ออกกำลังไม่หนักพอ ทำให้ผลดีนี้ไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่ได้หมายความว่า การออกกำลังจะไม่มีผลดีในผู้หญิง
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
ที่มา
Thank Reuters > Amy Norton. Exercise improves young men’s heart regulation > March 2009. / Source > Am J Public Health. May 2009.
ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 21 มีนาคม 2552.
ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ นะค่ะ