นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์เผยว่า ผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมควรเลือกที่จะ่ผ่าตัดเต้านมที่เป็นมะเร็งทิ้งไป เพื่อชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
งานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเนื้อร้ายจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้เฉลี่ย 31 เดือน ขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่านตัดเนื้อร้ายจะมีชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ 14 เดือน และพบว่า 25% ของผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดยังคงมีชีวิตรอดต่อไปได้อีก 5 เดือนหลังได้รับการผ่านตัด ซึ่งระยะเวลาการรอดชีวิตมีมากเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการผ่าตัด
โดยศึกษาจากผู้หญิงจำนวน 728 คน ในกรุงเบอร์ลิน ที่มีอาการของโรคมะเร็งเต้านม ทำให้นักวิจัยพบว่าการผ่าตัดเต้านมที่เป็นมะเร็งทิ้งไปช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเช่นการแพร่กระจายของเชื้อหรืออายุของผู้ป่วย
จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้นักวิจัยเกิดแนวคิดที่ว่าการผ่าตัดเต้านมที่เป็นมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะสามารถช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อร้ายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้ และการผ่าตัดยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำงานได้ดีขึ้น นับเป็นโอกาสที่จะค้นพบวิธีการรักษาใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะอันตราย
ข่าวจาก MailOnline