การย้อนกลับมามองตนเองสามารถช่วยทำให้เข้าใจปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารในผู้หญิงได้
งานวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ทั้งโรคอนาเร็กเซีย และบูลิเมียนั้น มักจะมองตนเองแตกต่างจากผู้หญิงที่ไม่มีปัญหาด้านนี้
งานวิจัยโดยนักวิจัยชาวอิสราเอล ได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ป่วยโรคอนาเร็กเซีย และบูลิเมีย จำนวน 36 คน และผู้ที่ไม่ป่วยจำนวน 40 คน เกี่ยวกับทัศนคติในการมองตนเอง ซึ่งนักวิจัยพบความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่มนี้ ดังนี้
- ผู้หญิงที่ป่วยด้วยอนาเร็กเซีย หรือบูลิเมียนั้น มักจะจินตนาการว่าตนเองมีคอใหญ่มาก คอสั้น หรือไม่มีคอ – กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มักจะเม้มปาก – กลุ่มผู้มีปัญหาด้านการรับประทานอาหารนี้ มักจะคิดว่าตนเองมีรอบเอวที่ใหญ่ – กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มักจะวาดภาพตนเองไม่มีเท้า หรือไม่มีส่วนเชื่อมเท้า
นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า ในกลุ่มผู้ที่มีปัญหานี้ ภาพวาดส่วนใหญ่ของผู้ป่วยอนาเร็กเซียเมื่อเทียบกับผู้ป่วยบูลิเมียแล้วนั้น มักจะไม่มีเต้านม มักจะไม่มีรายละเอียดของภาพ และมักจะวาดภาพเล็กเกินไป เมื่อเทียบกับขนาดกระดาษ
“จากงานวิจัยนี้เราพบว่า ผู้หญิงที่ป่วยด้วยความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร สามารถตรวจสอบได้จากการให้ทดลองวาดภาพตนเอง” Rachel Lev-Wiesel ผู้อำนวยการโรงเรียนศิลปะเพื่อการบำบัด มหาวิทยาลัยHaifa กล่าว
“ผู้หญิงที่ป่วยเหล่านี้มักจะปิดบังเงื่อนไขของตนเอง แม้แต่กับนักบำบัด พวกเธอมักจะไม่ค่อยพูดปัญหาของพวกเธอ ดังนั้นเครื่องมือทั้งที่ใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด อาทิ การให้วาดภาพตนเองนั้น สามารถกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการรักษาด้วยศิลปะได้” Rachel Lev-Wiesel กล่าวทิ้ง้ทาย
ที่มา Health.com