ผู้ที่น้ำหนักเกือบจะเกินกว่ามาตรฐาน มีความเสี่ยงร้อยละ 15 ต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ Telegraph รายงาน
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index :BMI) ไม่เกิน 25 อาจมีโอกาสรักษาให้หายจากโรคได้ ผู้เชี่ยวชาญจาก World Cancer Research Fund (WCRF) กล่าว โดยโรคมะเร็งที่น่าจะยับยั้งได้ ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน มะเร็งมดลูก และมะเร็งถุงน้ำดี
ค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI เท่ากับ 18 แสดงว่าคุณมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน หรือผอมไป
ค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI เท่ากับ 18 – 25 แสดงว่าคุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมส่วน
ค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI เท่ากับ 25 – 30 แสดงว่าน้ำหนักของคุณเริ่มจะเกินมาตรฐาน
ค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI มากกว่า 30 แสดงว่าคุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน หรืออ้วนเกินไป
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้ว่าค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 18 – 25 จะเป็นค่าที่บ่งว่าคุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่คุณก็ควรจะดูแลสุขภาพโดยให้ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับใกล้ค่า 18 มากกว่าเข้าใกล้ค่า 25 เพราะค่าดัชนีมวลกายที่เริ่มเข้าใกล้ค่า 25 มีความเสี่ยงร้อยละ 15 ที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้
การมีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง นอกเหนือจากการสูบบุหรี่ ดังนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ให้ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ แต่การสำรวจล่าสุดพบว่าประชาชน ร้อยละ 40 ยังไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเผยแพร่ข้อเท็จจริงนี้สู่ประชาชน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
สรุปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของมะเร็งโดยทั่วไปสามารถป้องกันได้ หากประชาชนบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกาย และรักษาค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ภาพจาก Flickr.com
ขอขอบคุณอาจารย์จริญญามากๆ ครับ... // ค่าดัชนีมวลกายนี่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้คนเอเชีย ซึ่งมีโครงสร้างเล็กกว่าฝรั่ง ใช้ดัชนีมวลกาย = 18.5-22.9 > http://data.schq.mi.th/~medo/index.php?option=com_content&task=view&id=26&Itemid=41 // หรือถ้าใช้แบบกรมอนามัยจะ = 18.5-23.4 > http://www.gj.mahidol.ac.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=11&Itemid=12 // ขอขอบคุณมากๆ ครับ