อ่าน: 758

การตรวจสอบคุณภาพนํ้าดื่ม

นํ้าจัดเป็นอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกาย นอกจากเป็นส่วนประกอบของร่างกายแล้ว นํ้ายังช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย ตามปกติคนเราต้องการดื่มนํ้าประมาณ 6-8 แก้ว หรือ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน นํ้าดื่มควรเป็นนํ้าสะอาด ปราศจากเชื้อโรค และสิ่งเจือปนต่าง ๆ หากร่างกายได้รับนํ้าที่มีสารพิษ อาจก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารพิษบางตัวก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคร้ายต่าง ๆ ที่ยากแก่การรักษา

ในปัจจุบันนํ้าดื่มที่ได้รับความนิยมมากคือนํ้าประปา นํ้าผ่านเครื่องกรอง นํ้าดื่มบรรจุขวด ซึ่งนํ้าแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งผลิต และกรรมวิธีการผลิต กล่าวคือ นํ้าประปา บางแหล่งก็มีสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนํ้าบริโภค บางแหล่งก็ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนํ้าผ่านเครื่องกรอง และนํ้าดื่มบรรจุขวดบางยี่ห้อได้รับการจดทะเบียนอาหารถูกต้องตามกฎหมาย บางยี่ห้อก็ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอาหาร จึงเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตที่จะต้องมีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในการผลิต และจัดจำหน่าย รวมทั้งต้องมีหน่วยราชการที่คอยตรวจสอบคุณภาพนํ้าดื่มให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนด เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคนํ้าดื่มที่สะอาด ปลอดภัย และยังสามารถใช้เป็นข้อมูล
พื้นฐานสำหรับการพัฒนามาตรฐานนํ้าดื่มให้สูงขึ้น มาตรฐานของนํ้าดื่มซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่น

  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยึดถือเป็นมาตรฐานเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนอาหาร
  2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนํ้าบริโภค มอก. 257 (2521)

ทั้ง 2 มาตรฐานนี้มีรายการตรวจวิเคราะห์และเกณฑ์กำหนดใกล้เคียงกัน นํ้าดื่มที่จะขอขึ้นทะเบียนอาหาร หรือขอใช้ฉลากอาหารจาก อย. ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 64 และฉบับที่ 135 การตรวจวิเคราะห์นํ้าดื่มให้ได้ผลถูกต้อง แม่นยำ จำต้องคำนึงถึงขั้นตอนต่างๆดังนี้

  1. การเก็บตัวอย่าง ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อสภาพตัวอย่าง และตัวอย่างที่เก็บมาสามารถเป็นตัวแทนของตัวอย่างทั้งหมดได้ เนื่องจากเราไม่สามารถจะวิเคราะห์ตัวอย่างได้ทั้งหมด จึงต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เมื่อได้ตัวอย่างที่เหมาะสมแล้วจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลของตัวอย่าง เช่น ชนิดและชื่อของตัวอย่าง สถานที่ และเวลาที่เก็บตัวอย่าง
  2. การรักษาคุณภาพนํ้าตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ตัวอย่างนํ้าควรกระทำ ทันทีที่ได้รับตัวอย่าง แต่เนื่องจากมีรายการที่ต้องวิเคราะห์มากจึงไม่สามารถทำได้ทันทุกรายการ จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาคุณภาพตัวอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดี มีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการแช่เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส และต้องคอยระวังไม่ให้เป็นนํ้าแข็ง นอกจากนั้นยังมีวิธีการเก็บรักษาคุณภาพตัวอย่างนํ้าที่เหมาะสมสำหรับแต่ละรายการที่วิเคราะห์
  3. การวิเคราะห์ทดสอบ ต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละการวิเคราะห์ ซึ่งต้องคำนึงถึงความถูกต้อง แม่นยำ และขีดความสามารถของวิธีการวิเคราะห์ว่าเหมาะสมกับลักษณะตัวอย่าง หรือไม่ เครื่องมืออุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้องเหมาะสม และได้รับการดูแลอย่างดี รวมทั้งผู้วิเคราะห์ต้องมีความระมัดระวังและศึกษาถึงคุณลักษณะของตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์อย่างถูกต้อง และรอบคอบ
  4. การรายงานผล ต้องรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างถูกต้อง และมีนัยสำคัญตามกระบวนการทางสถิติที่เหมาะสม

ผู้เรียบเรียง: เรียบเรียงโดย อังสนา ฉั่วสุวรรณ์
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
จริญญา 26 ก.ย. 2552 26 ก.ย. 2552
ความคิดเห็น (1)

☺  OK   ☻


 

ตาล (124.122.255.156) 17 มกราคม 2553 - 13:21 (#664)
« ก่อนหน้า หน้า 1 จาก 1 ถัดไป »
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย