อ่าน: 1630
Antihyperphosphatemic or Phosphate binder (ยาลดระดับฟอสเฟตในเลือด หรือ ยาจับฟอสเฟต)
ยาลดระดับฟอสเฟตในเลือด เป็นกลุ่มยาที่มีคุณสมบัติในการจับกับฟอสเฟตในทางเดินอาหารและถูกขับออกทางอุจจาระ ทำให้ฟอสเฟตในอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดลดลง การรับประทานยากลุ่มนี้จึงต้องรับประทานยาพร้อมกับอาหาร
ภาวะระดับฟอสเฟตในเลือดสูงมักพบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะไตวาย
ตัวอย่างสารที่ใช้ในการจับฟอสเฟต เช่น ยาที่มีสารประกอบของอะลูมินัม, แคลเซียม, ซีเวลลาเมอร์ (sevelamer)
สารจับฟอสเฟตที่นิยมใช้ในเด็กคือสารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate), แคลเซียมแอซืเทต (calcium acetate), แคลเซียมซิเทรต (calcium citrate) แต่ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะระดับแคลเซียมในเลือดสูง หรือภาวะปัสสาวะมีแคลเซียมมาก
สารจับฟอสเฟตที่มีอะลูมินัมเป็นส่วนประกอบที่นิยมใช้คือ อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ (aluminum hydroxide) แต่ต้องระมัดระวัง เพราะหากใช้นานเกินไป หรือใช้ในปริมาณมาก ๆ อาจเพิ่มระดับอะลูมินัมในเลือดและมีผลต่อกระดูกได้
นอกจากนี้ยังมียาที่ไม่มีส่วนประกอบของแคลเซียมหรืออะลูมินัม เช่น ซีเวลลาเมอร์ (sevelamer) ซึ่งเป็นสารประกอบพอลิเมอร์ (polymeric compound) ซึ่งจับกับฟอสเฟตในทางเดินอาหาร ยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และสามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับแคลเซียมในเลือด แต่ยานี้ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใดๆ หรือมีประวัติการแพ้เกลือแคลเซียม เกลืออะลูมินัม หรือ ซีเวลลาเมอร์ (sevelamer) หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยาเหล่านี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่นๆ เช่น อาหาร สารกันเสียหรือสี เป็นต้น
เฉพาะยาที่มีส่วนประกอบของเกลือแคลเซียม
- อย่ารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแคลเซียม หรือรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงในปริมาณมาก ๆ เช่น นม เนย โยเกิรต์ เพราะอาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงได้
ยาที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมหรืออะลูมินัม
ไม่มีข้อมูลการจัดยาเกลือแคลเซียม (calcium salts) หรืออะลูมินัม (aluminum) ว่าอยู่ในประเภทใดของการจัดกลุ่มยาที่มีผลต่อสตรีมีครรภ์ (pregnancy category) อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เว้นแต่แพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องใช้เพราะยังไม่มีการศึกษาผลของยานี้ในคนหรือในสัตว์ที่ตั้งครรภ์ และมีรายงานว่ายาที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม (aluminum) สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกที่แม่รับประทานยาลดกรดเป็นเวลานานในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูง
ยาที่มีส่วนประกอบของซีเวลลาเมอร์ (sevelamer)
หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เนื่องจากจัดอยู่ในกลุ่มยาที่มีผลต่อสตรีมีครรภ์ (pregnancy category) ระดับซี (C) เพราะมีการทดลองในสีตว์ พบว่ายามีผลต่อตัวอ่อนในครรภ์ รวมทืงยังไม่มีการศึกษาที่ควบคุมดีพอในมนุษย์ว่ายามีผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์ หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของการใช้ยาให้ชัดเจนก่อนใช้
ยาที่มีส่วนประกอบเป็นเกลือแคลเซียม
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเกลือแคลเซียมปริมาณมากในระหว่างให้นมบุตร เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่ และ/หรือ ทารกที่ดื่มนม
ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม (aluminum)
- ยาอาจผ่านเข้าสู่น้ำนมได้ สตรีที่รับประทานยานี้และต้องการให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
ยาที่มีส่วนประกอบของซีเวลลาเมอร์ (sevelamer)
ใช้เฉพาะกรณีจำเป็น สตรีที่รับประทานยานี้และต้องการให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
เพื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่ามีผลดีมากกว่าผลเสีย
เฉพาะยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม (aluminum)
- ไม่ควรให้ยานี้ ในทารกเกิดก่อนกำหนด หรือเด็กเล็กมาก ๆ เนื่องจากอะลูมินัมอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อให้ในเด็กที่เป็นโรคไต หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ
เฉพาะยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม (aluminum)
- ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาของกระดูกหรือเป็นโรคอัลไซเมอร์ (alzheimer’s disease) เนื่องจากอะลูมินัมอาจทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงขึ้น
ยาที่มีส่วนประกอบเป็นเกลือแคลเซียม
ก. ยาที่เกลือแคลเซียมมีผลรบกวนการดูดซึม ทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดลดลง และลดผลการรักษาได้ เช่น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น อีนอกซาซิน (enoxacin), ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin), โลมีฟลอกซาซิน (lomefloxacin), ลีโวฟลอกซาซิน (levofloxacin),นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin), โอฟลอกซาซิน (ofloxacin), สปาร์ฟลอกซาซิน (sparfloxacin)
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเททราไซคลีนชนิดรับประทาน
- ยาต้านเชื้อรากลุ่มอิมิดาโซล (imidazoles) เช่น คีโทโคนาโซล (ketoconazole), ฟลูโคนาโซล (fluconazole), อิทราโคนาโซล (itraconazole)
- ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เช่น เฟอรัสซัลเฟต (ferrous sulphate), เฟอรัสฟูมาเรต (ferrous fumarate)
- ยาที่มีส่วนประกอบของสังกะสี
- ดิจอกซิน (digoxin)
- เอทิโดรเนต (etidronate)
- ไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
- เฟนิทอยน์ (phenytoin)
หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันควรรับประทานยาเกลือแคลเซียมห่างจากการรับประทานยาเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยกเว้น ไอโซไนอาซิด (isoniazid) อาจรับประทานห่างจากยาแคลเซียมแอซีเทตอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
ข. เกลือแคลเซียมอาจลดผลของยา
- เซลลูโลสโซเดียมฟอสเฟต (cellulose sodium phosphate)
ค. ยาที่หากใช้ร่วมกับเกลือแคลเซียมจะทำให้มีระดับแคลเซียมในเลือดสูงและทำให้เกิดอันตรายได้
ยาอื่นที่ประกอบด้วยแคลเซียม
ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม (aluminum)
ยาที่อะลูมินัมมีผลรบกวนการดูดซึม ทำยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดลดลง และลดผลการรักษาได้ เช่น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น อีนอกซาซิน (enoxacin), ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin), โลมิฟลอกซาซิน (lomefloxacin), ลีโวฟลอกซาซิน (levofloxacin),นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin), โอฟลอกซาซิน (ofloxacin), สปาร์ฟลอกซาซิน (sparfloxacin)
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเททราไซคลีนชนิดรับประทาน
- ยาต้านเชื้อรากลุ่มอิมิดาโซล (imidazoles) เช่น คีโทโคนาโซล (ketoconazole), ฟลูโคนาโซล (fluconazole), อิทราโคนาโซล (itraconazole)
- ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เช่น เฟอรัสซัลเฟต (ferrous sulphate), เฟอรัสฟูมาเรต (ferrous fumarate)
- ดิจอกซิน (digoxin)
- ไอโซไนอาซิด (isoniazid)
หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรรับประทานยาอะลูมินัมห่างจากการรับประทานยาเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยกเว้น ไอโซไนอาซิด (isoniazid) อาจรับประทานห่างจากยาลดกรดอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
สำหรับยาที่มีส่วนประกอบของซีเวลลาเมอร์ (sevelamer)
- ยาที่ซีเวลลาเมอร์ทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้และลดผลการรักษาได้ เช่น ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin), ไซโคลสพอริน (ciclosporin), ไมโคฟีโนเลท (mycophenolate) และ แทโครลิมัส (tacrolimus)
ยาที่มีส่วนประกอบเป็นเกลือแคลเซียม
- ท้องผูก หรือ
- มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะหรือลำไส้ หรือ
- ระดับแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) หรือ
- แคลเซียมในปัสสาวะสูง (hypercalciuria) หรือ
- โรคซาร์คอยด์ (sarcoidosis) แคลเซียมอาจทำให้ไตผิดปกติหรือมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคนี้ หรือ
- ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (hyperparathyroidism) การได้รับแคลเซียมในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจทำให้มีระดับแคลเซียมในเลือดสูง
ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม (aluminum)
- โรคอัลไซเมอร์ (เฉพาะการใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม) หรือ
- โรคไส้ติ่งอักเสบ หรือมีอาการแสดงของไส้ติ่งอักเสบ (เช่น ปวดท้อง, ปวดเกร็ง, คลื่นไส้, อาเจียน) หรือ
- กระดูกหัก หรือ
- ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis)หรือ
- ท้องผูกรุนแรงและต่อเนื่องนาน ๆ หรือ
- ริดสีดวงทวาร (hemorrhoid) หรือ
- ลำไส้อุดตัน หรือ
- เลือดออกในลำไส้หรือทวารหนัก หรือ
- ผู้ที่ได้รับการทำศัลยกรรมทำรูเปิดลำไส้ใหญ่ (colostomy) หรือ
- ผู้ที่ได้รับการทำศัลยกรรมทำรูเปิดลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileostomy) หรือ
- โรคไต (ยานี้อาจทำให้ระดับอะลูมินัมในเลือดสูง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงในผู้เป็นโรคไต)
สำหรับยาที่มีส่วนประกอบของซีเวลลาเมอร์ (sevelamer)
- มีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง หรือ
- ลำไส้อุดตัน (bowel obstruction) หรือ
- กลืนลำบาก (dysphagia) หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน (swallowing disorders) หรือ
- ทางเดินอาหารมีปัญหาในการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง (severe GI motility disorders) หรือ
- มีการผ่าตัดใหญ่ที่ทางเดินอาหาร (major GI tract surgery)
รายการนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มยาต่อไปนี้
ยาต่อไปนี้อยู่ในกลุ่มยานี้
- British Medical Association and Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. British National Formulary. 50th ed. (September, 2005) BMJ Publishing Group Ltd., London, 37-51, 484-485.
- CPM medica. MIMS Thailand Online. Available at http://www.mims.com. Access Date: 21 March, 2010.
- MedlinePlus Trusted Health Information for You. Antacids (oral). Available at http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/drug_Aa.html. Access Date: March 17, 2005.
- MedlinePlus Trusted Health Information for You. Calcium Supplement.Available at www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a601013.html Access Date: March 21, 2010.