ชาวเนอเธอร์แลนด์จะตัดสินอารมณ์ของบุคคลอื่น ๆ ด้วยการสังเกตการแสดงออกทางใบหน้า ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นมักจะใช้การสังเกตเสียงพูด
อากิฮิโตะ ทานะกะ จากสถาบันการวิจัยขั้นสูงวาเซดะในกรุงโตเกียว และทีมงานกล่าวว่า การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกเป็นลักษณะเฉพาะในแต่ละวัฒนธรรม
ทานะกะและทีมงานได้ทำการบันทึกวีดิโอโดยให้นักแสดงพูดประโยคที่ไม่แสดงความรู้สึกด้านบวกหรือลบตามธรรมชาติทั้งในภาษาญี่ปุ่นและภาษาดัทช์ ในขณะที่พวกเขาอยู่ในภาวะโกรธ หรืออารมณ์ดี ของพร้อมทั้งตั้งคำถามว่า มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ (Is that so?) จากนั้นนำมาให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองเชื้อชาติได้ทำการตัดสินว่าแท้จริงแล้วพวกเขามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยานี้กล่าวว่า ชาวญี่ปุ่นมักจะซ่อนความรู้สึกไม่ดีของพวกเขาเอาไว้ด้วยการยิ้ม ดังนั้นชาวญีปุ่นจึงมักใช้วิธีการสังเกตอารมณ์ของผู้อื่นด้วยการฟังเสียง ใแต่สำหรับชาวดัทช์หรือชาวเนเธอร์แลนด์ซึ่งพวกเขามักจะมีน้ำเสียงและใบหน้าไปในทิศทางเดียวกัน อาจจะไม่สังเกตเห็นความรู้สึกแย่ในน้ำเสียงที่เบี่ยงเบนความสนใจด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
“งานวิจัยของเราจะทำให้การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น” ทานะกะกล่าว