การศึกษาใหม่ระบุว่าความฝันช่วยให้คนรักษาความทรงจำได้ดีขึ้น
ในความเป็นจริงนั้นการนอนหลับแบ่งออกเป็นหลายช่วง แต่มีช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่า “การนอนหลับในช่วง REM” หรือ “rapid eye movement” หรือ “การหลับที่ลูกนัยน์ตามีการเคลื่อนไหวเร็ว” เป็นช่วงเวลาที่คนๆ หนึ่งจะเผชิญหน้ากับความฝัน ซึ่งนั่นก็คือช่วงเวลาที่สมองกำลังเข้าสู่กระบวนการจดจำและมีการประมวลผลประสบการณ์ที่สั่งสมจนกลายเป็นความฝัน
ในการศึกษาครั้งนี้นำโดย ดร.ซาร่า เมดนิค นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ทำการทดสอบและเปรียบเทียบความจำของกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการนอนหลับพักผ่อนถึง 3 รูปแบบ ได้แก่ การนอนหลับในช่วง REM การนอนหลับในช่วงที่ไม่มี REM และการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ โดยจะทำการทดสอบความจำทั้งก่อนและหลังการนอนหลับพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ข้างต้น
ผลการทดสอบของกลุ่มที่มีพักผ่อนอย่างเงียบสงบ และนอนหลับในช่วงที่ไม่มี REM พบว่าการทดสอบความจำก่อนและหลังที่จะมีการนอนหลับพักผ่อนนั้นไม่มีความแตกต่างกัน แต่สำหรับกลุ่มที่มีการนอนหลับในช่วง REM พบว่าผลการทดสอบความจำหลังจากนอนหลับแล้ว ดีขึ้นเกือบร้อยละ 40
จากผลการศึกษานี้ทำให้นักวิจัยจึงเชื่อว่าการนอนหลับและความฝันน่าจะช่วยทำให้ความทรงจำดีมากขึ้น เพราะฉะนั้นนอนหลับและเริ่มฝันบ้างก็น่าจะดี
ข่าวจาก: indian express.com
แล้วถ้าฝันทุกวันความจำจะดีขึ้นไหม๊นะ??